จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกเมืองบึงคอกช้าง 2

จารึก

จารึกเมืองบึงคอกช้าง 2 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 เวลา 15:56:39

ชื่อจารึก

จารึกเมืองบึงคอกช้าง 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกบุญย่อมส่งเสริมนักพรต, จารึกบึงคอกช้างหมายเลข 2, อน. 2

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

มอญโบราณ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2524), (พ.ศ. 2525), (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

จำปา เยื้องเจริญ (พ.ศ. 2524), (พ.ศ. 2525), (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ปุญ” ตีนของอักษร “ญ” เหมือนกับสระ “อุ” ที่อักษร “ป” แต่อาศัยการเปรียบเทียบกับคำว่า “ปุญ” ในจารึกถ้ำฤๅษีเขางู บางท่านอาจสงสัยว่า ลักษณะนี้ น่าจะอ่านเป็น “ปุญะ” มากกว่า อาจารย์จำปา เยื้องเจริญ ได้อธิบายเพื่อขจัดความสงสัยในข้อนี้ว่า ภาษามอญ คำว่า “ปุญ” ต้องเขียนด้วยตัวอักษร “ญ” ครึ่งตัว แต่ถ้าเขียนด้วยอักษร “ญ” เต็มตัว จะอ่านเป็น “ปุญญะ”
2. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “สิธ” มีรอยหินแตก 2 รอย อยู่ที่รูปของอักษร “ส” คือส่วนบนของอักษร “ส” จึงดูเหมือน “ศฺส” (ศ ซ้อน ส) และที่ภายในอักษร “ส” จึงดูเหมือนว่าเป็นไส้กลางของอักษร “ษ” แต่สำเนาจารึกไม่ปรากฏไส้กลางของอักษร “ษ” จึงได้อ่านเป็น “สิธ” เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ คำว่า “สิ” มีลักษณะเหมือนกันกับ จารึกแผ่นทองแดงอู่ทอง ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 และลักษณะการจารึกสระ “อิ” ที่สูงใหญ่ และการจารึกอักษร “ส” ต่างก็เป็นลักษณะที่เหมือนกันกับที่พบในจารึกเย ธมฺมาฯ 2 (นครปฐม) (นฐ. 3) ซึ่งจารอยู่บนสถูปทรงบาตรคว่ำ
3. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “เคลา” อักษร “ค” มีรูปแบบเหมือนกันกับที่พบในจารึกเย ธมฺมาฯ 2 (นครปฐม) (นฐ. 3) ซึ่งจารอยู่บนสถูปทรงบาตรคว่ำ
4. จำปา เยื้องเจริญ : “ปุญญะ” หมายถึง บุญ
5. จำปา เยื้องเจริญ : “ซ้าตเธี่ย” หมายถึง นักพรต
6. จำปา เยื้องเจริญ : “เกเลี่ย” หมายถึง ส่งเสริม