จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกถ้ำฤๅษีเขางูเมืองราชบุรี

จารึก

จารึกถ้ำฤๅษีเขางูเมืองราชบุรี ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 เวลา 14:33:50

ชื่อจารึก

จารึกถ้ำฤๅษีเขางูเมืองราชบุรี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 22 จารึกถ้ำฤๅษีเขางูเมืองราชบุรี, จารึกที่ 22 จารึกในถ้ำฤษี เขางู จังหวัดราชบุรี, รบ. 1

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2472)
2) ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

1) ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2472)
2) ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2504), (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ตรงใจ หุตางกูร : ศ. ยอร์ช เซเดส์ วิเคราะห์ว่าคำว่า “ปุญ” นี้ เป็นคำมอญ เนื่องจากอักขรวิธีไม่ตรงกับทั้งภาษาบาลี (ปญฺญ) และภาษาสันสกฤต (ปุณฺย) ชะเอม คล้ายแก้ว กล่าวว่าคำนี้เป็นคำทับศัพท์ตรงกับภาษาไทยปัจจุบันว่า “บุญ” หรือ “คุณความดี”
2. ตรงใจ หุตางกูร : ศ. ยอร์ช เซเดส์ สันนิษฐานว่า คำ “วฺระ” นี้เป็นคำเขมร ซึ่งน่าจะตรงกับคำว่า “พระ” แต่อย่างไรก็ตาม ท่านก็ยังไม่แน่ใจนักเป็นคำนี้จริงหรือไม่ เนื่องจากรูปอักษรไม่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม ชะเอม แก้วคล้าย ได้อ่านว่า “กร” โดยท่านอธิบายว่า “เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนของรูปอักษรแล้วจะเห็นว่า วงกลมส่วนบนนั้น เล็กเกินไป ไม่เหมาะสมกับสัดส่วนของความเป็นพยัญชนะ “ว” จึงเข้าใจว่าเป็นหัวของพยัญชนะ “ก” เท่านั้น เพราะรูปพยัญชนะ “ก” มีหัวกลม อย่างนี้มีตัวอย่างใน Inscriptions of Sarabhapura Kings, 6th-7th century A.D. หน้า Plate Xva ในหนังสือ Indian Palaeography by Dr. A.H. Dani ซึ่งใกล้เคียงกับพยัญชนะ “ก” ของจารึกถ้ำฤาษีเขางูนี้มาก และวิสรคะที่วางไว้ด้านซ้ายและขวาของพยัญชนะไม่เคยปรากฏในที่ใดมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 ประกอบกับแขนทั้งสองเป็นเส้นยาว จึงไม่เหมาะสมที่เป็นวิสรคะ ซึ่งควรจะมีรูปเป็นเพียงจุด “ : ” เท่านั้น พยัญชนะ “ร” จะเห็นว่ามีเส้นเสริมถึง 3 เส้น แต่เส้นเหล่านั้น ไม่มีความกลมกลืนที่เนื่องมาจากเส้นชี้ตรงขึ้นบน ซึ่งไม่เคยมีในจารึกใดมาก่อน ฉะนั้น จึงมั่นใจว่าเส้นเสริมทั้งสาม มิใช่เป็นเส้นของรูปอักษร จึงอ่านเป็น “กร” แปลว่า ผู้กระทำ
3. ตรงใจ หุตางกูร : ศ. ยอร์ช เซเดส์ อ่านแล้ววิเคราะห์ ว่าคำ “ฤษิ ---” นี้ ตรงกับคำว่า “ฤษี” ซึ่งก็สอดคล้องดีกับที่ชาวบ้านในเรียกถ้ำนี้ว่า “ถ้ำฤๅษี” แต่อย่างไรก็ตาม ชะเอม แก้วคล้าย วิเคราะห์ว่า รูปอักษรไม่น่าอ่านว่า “ฤษิ” โดยถ้าวิเคราะห์จากรูปอักขระ ซึ่ง ศ. ยอร์ช เซเดส์ อ่านได้ว่า “ปุญ” “วฺระ” “ฤษิ” นั้น ก็น่าจะอ่านได้ว่า “ปุญ” “กร” “มชฺระ” ดังนั้น จึงไม่ปรากฏคำว่า “ฤษี” ในจารึก แต่มีคำว่า “มชฺระ” ซึ่งแปลว่า ผู้บริสุทธิ์ หรือ ตามศัพท์แปลว่า ผู้กระทำความสะอาดอย่างหมดจด หมายถึง ทำความสะอาดจิตใจของตนเอง