ผู้อ่าน |
1) ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2528), (พ.ศ. 2529), (พ.ศ. 2532)
2) วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี (พ.ศ. 2546)
|
ผู้แปล |
ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2528), (พ.ศ. 2529), (พ.ศ. 2532)
|
ผู้ตรวจ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2551)
2) กรรณิการ์ วิมลเกษม (พ.ศ. 2546)
|
เชิงอรรถอธิบาย |
1. ชะเอม แก้วคล้าย : “ศฺรี มานฺปฺรวรเสโน” จะแปลเป็นชื่อเฉพาะก็ได้ หรือ ผู้เป็นใหญ่ที่ประเสริฐและมีชื่อเสียงก็ได้
2. ชะเอม แก้วคล้าย : “ศรี โกรญจพาหุ” ชื่อเฉพาะศรีโกรญจพาหุ ไม่มีในบรรดากษัตริย์ราชวงศ์เขมร เข้าใจว่าอาจเป็นเจ้านายผู้ใหญ่ที่ปกครองหมู่บ้าน
3. ชะเอม แก้วคล้าย : “ปฺรชา” บรรทัดแรกแผ่นที่ 2 อักษร “ปฺ” หยักด้านขวามือน้อยมากจะอ่านเป็นอักษร “วฺ” ก็ได้ แต่ทั้งสอง เมื่อแปลแล้ว เนื้อความจะไม่สัมพันธ์กัน อาจจะต่อเนื่องกับส่วนที่หายไป
4. ชะเอม แก้วคล้าย : “ชศทฺธรฺมฺมนิพนฺธนีมฺ” ถ้าแปลว่า “พระสัทธรรม” น่าจะใช้อักษร “ส” เมื่อตัดเป็น “ชศทฺ” กับ “ธรฺมฺมนิพนฺธนีมฺ” คำว่า “ชศทฺ” ก็ต้องต่อเนื่องกับส่วนที่หายไปเช่นกัน
5. ชะเอม แก้วคล้าย : “ภกฺตี - - - -” มีอักษรซ้อนกัน 2 ตัว เป็นสีขาวลางเลือน อาจอ่านได้หลายนัย จึงเว้นไว้ ถ้าได้ดูตัวจารึกคงพอจะอ่านแปลได้
6. ชะเอม แก้วคล้าย : “น้องชายคนเล็ก” ผู้เกิดภายหลัง
7. ชะเอม แก้วคล้าย : “สฺมฺฤต” คำนี้เป็นกริยาของกรรมวาจก ในที่นี้แปลโดยอรรถในรูปของกัตตุวาจก
|