จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกบ้านตาดทอง

จารึก

จารึกบ้านตาดทอง ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 เวลา 12:26:35

ชื่อจารึก

จารึกบ้านตาดทอง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ยส. 1, Stèle de Ban Tat Tong (K. 697), K.697, กพช 10 มี.ค.23

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 15

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 47 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 20 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 27 บรรทัด (ด้านที่ 2 ยังไม่ได้อ่าน-แปล)

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : “พระเจ้ารุทรโลก” เป็นพระนามของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ซึ่งครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1454-1464 และพระนามนี้ได้รับเมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว ฉะนั้นจารึกนี้คงสร้างภายหลังที่พระเจ้าหรรษวรมันสวรรคตแล้ว เช่นกัน
2. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “สํรกฺษิตนทาตฺ” ของบรรทัดที่ 7 น่าจะเป็น “ททาตฺ” เหมือนบรรทัดที่ 14 และ 16 แต่อักษร “น” เหมือนกับอักษร “น” ของคำว่า “นโม” และคำว่า “เลนฺทุ” ของบรรทัดที่ 1 มาก จึงไม่อาจอ่านเป็น “ททาตฺ” ได้ ส่วนคำว่า “ททาตฺ” ของบรรทัดที่ 14 และ 16 น่าจะเป็น “อททาตฺ” มากกว่า แต่จารึกขาดอักษร “อ” ไป
3. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “วิชฺยมาตฺฤรูปกา” บรรทัดที่ 9 ตามรูปศัพท์ น่าจะเป็น “อาชฺญามาตฺฤรูปกา” ก็ได้ แต่จะไม่มีความหมายในการแปล จึงอ่านเป็น “วิชฺยมาตฺฤรูปกา” เพราะคิดว่าเส้นวงกลมของสระอิ ได้ขาดหายไปช่วงหนึ่ง จึงไม่ต่อเนื่องกัน
4. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “สติปติ” ของบรรทัดที่ 9 เช่นกัน ตามรูปนี้ จะไม่มีความหมายใดๆ ท่านศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้แก้คำนี้เป็น “อติษฺฐิปตฺ” แปลว่า ได้สร้างแล้ว
5. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “รุทฺรโลก” บรรทัดที่ 15 น่าจะเป็น “รุทฺรโลกสฺ” หรือ ”รุทฺรโลกะ” แต่ในจารึก วิสรคะ ไม่ปรากฏ