จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดหอพระแก้ว

จารึก

จารึกวัดหอพระแก้ว ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:26

ชื่อจารึก

จารึกวัดหอพระแก้ว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นค. 13

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2355

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 70 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 34 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 36 บรรทัด

ผู้อ่าน

ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. 2530)

ผู้ปริวรรต

ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. 2530)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ธวัช ปุณโณทก : จุลศักราชพันร้อย 74 = จ.ศ. 1174 ตรงกับ พ.ศ. 2355
2. ธวัช ปุณโณทก : ปีเต่าสัน = ชื่อปีตามปฏิทินหนไทย ตรงกับปีวอก เบญจศก ภาคกลาง
3. ธวัช ปุณโณทก : เพ็ง = วันเพ็ญ
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “คน” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นเป็น “คัน” ชัดเจน จึงได้แก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก
5. ธวัช ปุณโณทก : บ่เท่าแต่นั้น = ไม่เพียงแต่เท่านั้น
6. ธวัช ปุณโณทก : แม่น้ำของ = แม่น้ำโขง
7. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ฝูง = พวก, หมู่
8. ธวัช ปุณโณทก : แฮ = แพร, ผ้าแพร
9. ธวัช ปุณโณทก : ปลาย = เหลือเศษ, เกิน
10. ธวัช ปุณโณทก : เปียว = อันเดียว, เดี่ยว
11. ธวัช ปุณโณทก : สบ = หมายถึง สลกบาตร
12. ธวัช ปุณโณทก : เสี้ยนเถา = ปิ่นโต
13. ธวัช ปุณโณทก : เงี่ยง = กระโถน
14. ธวัช ปุณโณทก : เกิบ = รองเท้า
15. ธวัช ปุณโณทก : สาด = เสื่อ
16. ธวัช ปุณโณทก : มีดแถ = มีดโกน
17. ธวัช ปุณโณทก : ดวง = ลักษณนามของคำว่า มีดแถ
18. ธวัช ปุณโณทก : ตาด = ไม้กวาดที่ทำจากซี่ไม้ไผ่
19. ธวัช ปุณโณทก : ยู = ร่ม, คันยู ก็ว่า
20. ธวัช ปุณโณทก : บวย = กระบวย
21. ธวัช ปุณโณทก : ถองน้ำ = หม้อกรองน้ำ
22. ธวัช ปุณโณทก : เผียกผ้า = ราวตากผ้า
23. ธวัช ปุณโณทก : สลา = หมาก
24. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “พึก” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นเป็น “พฺลึก” ชัดเจน จึงได้แก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก
25. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “พึก” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นเป็น “พฺลึก” ชัดเจน จึงได้แก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก
26. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “พึก” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นเป็น “พฺลึก” ชัดเจน จึงได้แก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก
27. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “พึก” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นเป็น “พฺลึก” ชัดเจน จึงได้แก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก
28. ธวัช ปุณโณทก : ต่อน = ลักษณนามหมายถึง เป็นท่อนๆ
29. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “เบีย” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นเป็น “เบฺยั” ชัดเจน จึงได้แก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก
30. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “พึก” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นเป็น “พฺลึก” ชัดเจน จึงได้แก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก
31. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “คิ” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นเป็น “คิะ” ชัดเจน จึงได้แก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก
32. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “เพสัช” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นเป็น “เพสัชะ” ชัดเจน จึงได้แก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก
33. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นคำว่า “เงิน” อยู่หน้า “หฺลัง” ชัดเจน จึงได้เพิ่มเติมคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก
34. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นคำว่า “ทัง” อยู่หน้า “3” ชัดเจน จึงได้เพิ่มเติมคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก
35. ธวัช ปุณโณทก : หลังแล = แต่ละหลัง
36. ธวัช ปุณโณทก : โฮม = รวม
37. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “ตะมวน” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นเป็น “ตะหมวน” ชัดเจน จึงได้แก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก
38. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ พิจารณาจากภาพสำเนาจารึกแล้วเห็นคำว่า “ปฺลา ฺย” อยู่หน้า “4” ชัดเจน จึงได้เพิ่มเติมคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับอักษรที่จารึก