จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

พระราชสาส์นถึงพระเจ้าดอนฟิลิปแห่งโปรตุเกส

จารึก

พระราชสาส์นถึงพระเจ้าดอนฟิลิปแห่งโปรตุเกส หน้าที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 เวลา 14:34:39

ชื่อจารึก

พระราชสาส์นถึงพระเจ้าดอนฟิลิปแห่งโปรตุเกส

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หนังสือพระราชสาส์นอักษรไทย ภาษาไทย สมัยอยุธยา

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2161

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

มี 46 บรรทัด (ไม่ทราบจำนวนหน้ากระดาษ)

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2503)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “มานพระบัณฑูร” หมายถึง มีคำสั่ง
2. ขจร สุขพานิช : “พระบาทสมเด็จเอกาทศรุทธ” คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
3. ขจร สุขพานิช : “พระญาวีซเร” คือ ไวซรอย (อุปราชเมืองกัว)
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “กปิตัน” คือ กัปตัน (captain)
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปาตรี”, “ปาดตรี”, “บาตรี” จตุพร ศิริสัมพันธ์ สันนิษฐานไว้ในวิทยานิพนธ์เรื่อง สรรพนามในจดหมายและบันทึกโกษาปาน ว่ามาจากคำว่า patriarche ในภาษาฝรั่งเศส หมายถึง พ่อบ้าน พระราชาคณะ หรือผู้มีอาวุโสสูงสุด ในที่นี้ใช้เป็นสรรพนามนำหน้าชื่อนักบวชในคริสตศาสนา ส่วนชื่อ “ผเรผรันสีศกุตนุสียา” นั้น ขจร สุขพานิช สันนิษฐานว่าน่าจะมาจาก “Francisco Tunisien” คาดว่าเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับขนบธรรมเนียมและภาษาไทยเป็นอย่างดี และคงจะทำหน้าที่ล่ามประจำคณะทูตไทยไปยังกรุงลิสบอนด้วย
6. ขจร สุขพานิช : “พระญาประตุการ” คือ พระเจ้าดอนฟิลิปแห่งโปรตุเกส
7. ขจร สุขพานิช : “ม้วย” หมายถึง สิ้นสุด
8. ขจร สุขพานิช : “มลาก” คือ มาก
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “แผ่นดินเมืองประตุการ” คือ ประเทศโปรตุเกส
10. ขจร สุขพานิช : “พระอางวะ” คือ พระเจ้าอังวะ
11. ขจร สุขพานิช : “ใมลาปุน” ไม่ทราบว่าเป็นคำภาษาใด และมีความหมายว่าอย่างไร
12. ขจร สุขพานิช : “เกริก” หมายถึง เลื่องลือ
13. ขจร สุขพานิช : “ฉุก” หมายถึง เกิดขึ้นโดยพลัน
14. ขจร สุขพานิช : “ขุนอนุชิตราชา” เป็นตรีทูต
15. ขจร สุขพานิช : “พระยาสมุทร์สงคราม” เป็นราชทูต
16. ขจร สุขพานิช : “หลวงสัมฤทธิ์ไมตรี” เป็นอุปทูต
17. ขจร สุขพานิช : “ทองฝีหลิ” คือ พระเจ้าดอนฟิลิปแห่งโปรตุเกส