เชิงอรรถอธิบาย |
1. วัชรินทร์ (ปฏิพัทธ์) พุ่มพงษ์แพทย์ และพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กันโตภาโส) : ศักราช 60 ตัว = ปี จ.ศ. 1060 เท่ากับ ปี พ.ศ. 2241
2. ธวัช ปุณโณทก : ปีเปิกยี, เปลิกยี = ปีขาล สัมฤทธิศก ภาคกลาง
3. วัชรินทร์ (ปฏิพัทธ์) พุ่มพงษ์แพทย์ และพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กันโตภาโส) : เดือน 3 = เดือนกุมภาพันธ์ การนับเดือนในที่นี้นับเหมือนกับไทยทางภาคกลาง ซึ่งไม่เหมือนกับการนับเดือนทางภาคเหนือ เพราะเดือนในจารึกของไทยภาคเหนือ จะช้ากว่าเดือนทางภาคกลางและภาคอีสาน 2 เดือน
4. วัชรินทร์ (ปฏิพัทธ์) พุ่มพงษ์แพทย์ และพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กันโตภาโส) : วัน 4 = วันศุกร์
5. วัชรินทร์ (ปฏิพัทธ์) พุ่มพงษ์แพทย์ และพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กันโตภาโส) : พ่อออก = ใช้เรียกอุบาสกผู้ชายที่มีอายุมากกว่าผู้เรียกหรือผู้ที่นับถือ (โยม)
6. วัชรินทร์ (ปฏิพัทธ์) พุ่มพงษ์แพทย์ และพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กันโตภาโส) : อูบพระชินธาตุเจ้า = เป็นห้องสำริดที่ประกอบด้วย พื้นลักษณะคล้ายถาดสี่เหลี่ยมจตุรัสมีหู ตัวห้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมสูง และฝาซึ่งทำยอดเป็นทรงมณฑปมี 5 ยอด ประดับด้วยลูกแก้วเป็นชั้นๆ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ธวัช ปุณโณทก : อูบ = ผอบ หรือตลับ
7. วัชรินทร์ (ปฏิพัทธ์) พุ่มพงษ์แพทย์ และพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กันโตภาโส) : จันทปุระ = เมืองเวียงจันทน์
8. วัชรินทร์ (ปฏิพัทธ์) พุ่มพงษ์แพทย์ และพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กันโตภาโส) : ฐาปนา = ประดิษฐาน, นำมาไว้
9. วัชรินทร์ (ปฏิพัทธ์) พุ่มพงษ์แพทย์ และพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กันโตภาโส) : ธาตุประนม = พระธาตุพนม แต่คำว่าธาตุประนมเป็นคำที่เขียนไว้ในจารึกเป็นชื่อเดิม
10. วัชรินทร์ (ปฏิพัทธ์) พุ่มพงษ์แพทย์ และพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กันโตภาโส) : เถิง = ถึง
11. วัชรินทร์ (ปฏิพัทธ์) พุ่มพงษ์แพทย์ และพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กันโตภาโส) : เป็นแล้ว = เป็นที่สุด, เป็นที่แล้ว
|