จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง 3

จารึก

จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง 3 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 เวลา 19:21:21

ชื่อจารึก

จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลป. 5,, ศิลาจารึกที่วิหารพระธาตุลำปางหลวง, หลักที่ 78 ศิลาจารึกที่วิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง, 1.6.1.1 วัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2339, ลป. 5 จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2339

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา, ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2339

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 43 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 21 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2504)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

ผู้ปริวรรต

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2504)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ศรีศุภนมัสดุ = ขอความเจริญและความงามจงมี
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จูฑศักราช = จุลศักราช
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ.ศ. 1158 = พ.ศ. 2339
4. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีรวายสี, ปีระวายสี = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีมะโรง อัฐศก ตามจุลศักราช
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เดือนยี่ = เดือนยี่ของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับเดือน 12 ของไทยฝ่ายใต้
6. โครงการวิจัยฯ (2534) : เพ็ง = วันเพ็ญ คือ วันที่พระจันทร์เต็มดวง หรือวันขึ้น 15 ค่ำ
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เม็ง = ในที่นี้น่าจะเป็นชื่อของชาติ คือ ชาติเม็ง แต่ไทยบางพวกคงจะถือว่า วันอาทิตย์ จันทร์ อังคารฯ และปี 12 นักษัตรเป็นของขอม จึงได้เขียนไว้ในศิลาจารึกวัดพระมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ว่า “จุลสักราช 754 (พ.ศ. 1935) มหาศักราช 1314 (พ.ศ. 1935) ขอมปีวอก ไทยปีเต่าสัน เดือนสี่บูรณมี ขอมวันพฤหัสบดี ไทยวันเต่าเม็ด” ดังนี้ เพราะฉะนั้น คำว่า “เม็ง” เป็นชื่อของชาติ
8. โครงการวิจัยฯ (2534) : เมิงไก๊ = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
9. โครงการวิจัยฯ (2534) : ดิถี = วันตามจันทรคติ อย่างใช้ว่า ค่ำหนึ่ง, สองค่ำ
10. โครงการวิจัยฯ (2534) : ฤกษ์ = เวลาที่เป็นมงคล
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : วัฒมานฉายา = มีเงาอันเจริญ
12. โครงการวิจัยฯ (2534) : ตน = รูป (ลักษณนามของพระสงฆ์), องค์, พระองค์
13. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : นริศร = พระราชา
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เคล้า, เค้า = ประธาน หรือ หัวหน้า, เป็นเค้า = เป็นประธาน หรือ เป็นหัวหน้า
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : พระกรรโลง หรือ พระกรรโลงครรภ์ = พระมารดา ในศิลาจารึกวัดพระธาตุ มุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดลำพูน จ.ศ. 862 (พ.ศ. 2043) ใช้ว่าพระกันโลงรักฯ
16. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ญาณยุตวิสุทธศรัทธา = มีศรัทธาอันบริสุทธิ์ประกอบด้วยญาณ
17. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : มั่นคลง = มั่นคง
18. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เป็นเคล้าเป็นตอ หรือ เป็นเค้าเป็นตอ = เป็นหลักฐาน
19. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เมินกาล = จำเนียรกาล
20. โครงการวิจัยฯ (2534) : พระวรรษา, พระวัสสา = ปี
21. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ประสาท = เลื่อมใส
22. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : พัสตร์ หรือ พัตร = ผ้า
23. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : พ่ำเพง = บำเพ็ญ
24. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ปกเตินเชินชอบ = ป่าวร้องชักชวน
25. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : แปลง หรือ แปง = ทำ หรือ สร้าง
26. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ลำต้าย = เสาเขื่อน
27. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ไพ = ไป
28. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : โยคาวจร = ผู้มีความเพียร, มักใช้เรียกพระภิกษุผู้เรียนสมถะและวิปัสสนา