1. ฮันส์ เพนธ์ : ศักราชได้ 850 ตัว ในปีเปิกสัน ในเดือน 9 แรม 9 ค่ำ = ประมาณ เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2031/ค.ศ. 1488
2. ฮันส์ เพนธ์ : ไทยวันรวายเสด = ตามวิธีนับแบบชาวไทย เป็นวันระวายเส็ด
3. ฮันส์ เพนธ์ : เม็งวันพุธ = ตามวิธีนับแบบชาวเม็ง คือ มอญ ตรงกับวันพุธ
4. ฮันส์ เพนธ์ : ดิถีได้ 23 ตัว นาทีดิถีได้ 40 = เวลาประมาณ 16.00 น. 16.24 น. หรือ 22.00 น. 22.24 น.
5. ฮันส์ เพนธ์ : เมือถวาย = เมื่อถวาย
6. ฮันส์ เพนธ์ : พระมหาเทวีเป็นเจ้า = ในปี พ.ศ. 2031 พระยอดเชียงรายเสวยราชในล้านนาไทย พระยอดเชียงรายทรงเป็นพระราชนัดดา (หลาน) พญาติโลกราช เพราะฉะนั้น พระมหาเทวี อาจจะหมายถึง พระมเหสีของพญาติโลกราช หรือหมายถึง พระราชมารดาของพระยอดเชียงราย
7. ฮันส์ เพนธ์ : มัน = เขา หมายถึง นายร้อยเลง
8. ฮันส์ เพนธ์ : จุ่งจักหื้อ = จึงทรงมีพระราชบัญชาให้
9. ฮันส์ เพนธ์ : พันแพง = นายแพง ข้าราชการชั้น หรือระดับ 1 พัน
10. ฮันส์ เพนธ์ : เสมาจารึก = ศิลาจารึก ลักษณะใบเสมา
11. ฮันส์ เพนธ์ : หื้อมั่น = ตั้งศิลาจารึกขึ้น (ฝังเสมาจารึก) เพื่อเป็นหลักฐานที่มั่นคงของพระราชบัญชาต่อไป
12. ฮันส์ เพนธ์ : หื้อไว้คน 10 ครัว = ให้จัดคน 10 ครอบครัว เพื่อปฏิบัติ ดูแลวัด
13. ฮันส์ เพนธ์ : เป็นต้นว่านายร้อยเลง เป็นนายครัว 1 สีทาด 1 อาลาน 1 ทิดน้อย 1 คำน้อย 1 สามกองครัว 1 = รวมมีเพียง 6 ครอบครัว เข้าใจว่า ชื่ออีกสี่ครอบครัวตกไป เพราะในบรรทัดที่ 11 ของศิลาจารึกนี้ มีการแก้ข้อความ ลบออกแล้วเขียนใหม่ ยังมีเส้นอักษรเดิมบางตัวปรากฏอยู่ เช่น มีนิคหิตบนอักษร “ม” ของ “สามกอง”
14. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2548) : เฒ่าเมือง = ชื่อตำแหน่ง
15. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2548) : พันหนังสือ = ตำแหน่งข้าราชการสมัยโบราณ
|