จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกเจ้าหมื่นคำเพชร

จารึก

จารึกเจ้าหมื่นคำเพชร ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 เวลา 12:25:17

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าหมื่นคำเพชร

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลป. 1, ลป. 1 จารึกเจ้าหมื่นคำเพชร พ.ศ. 2019, จารึกในจังหวัดลำปาง, หลักที่ 65 ศิลาจารึกจังหวัดลำปาง, 1.6.1.1 วัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2019

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2019

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 17 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2495)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

ผู้ปริวรรต

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2495)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ.ศ. 838 = พ.ศ. 2019
2. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีรวายสัน, ปีระวายสัน = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีวอก อัฐศก ตามจุลศักราช
3. โครงการวิจัยฯ (2534) : เดือนยี่ = ตรงกับเดือน 12 ของภาคกลาง
4. โครงการวิจัยฯ (2534) : เปลิกสง้า, เปิกซง้า = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
5. โครงการวิจัยฯ (2534) : เจ้าหมื่น = ชื่อตำแหน่งข้าราชการ เหนือกว่าตำแหน่งพันขึ้นไป
6. โครงการวิจัยฯ (2534) : กินเมือง = ปกครองบ้านเมือง
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เลิก = ยก
8. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เรจนา หรือ รจนา = ตกแต่ง
9. โครงการวิจัยฯ (2534) : ตน = รูป (ลักษณนามของสงฆ์), องค์, พระองค์
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ยิบหมื่น, ยิบ = สอง, หมื่น = น้ำหนัก 10 ชั่ง, ยิบหมื่น = น้ำหนัก 20 ชั่ง
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : หื้อ = ให้
12. โครงการวิจัยฯ (2534) : บริบวรณ์ = บริบูรณ์
13. โครงการวิจัยฯ (2534) : จุ่ง = จง, จึง
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เครื่องหมาย “+” นี้ เป็นเครื่องหมายตกหนังสืออย่างหนึ่ง ในศิลาจารึกอักษรไทยวัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน ราว พ.ศ. 2000 เขียนรูปเหมือนเครื่องหมายคูณในปัจจุบัน แต่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง พ.ศ. 1835 เขียนเป็นรูป “|”
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ข้าวหนึ้ง = ข้าวเหนียว