จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 21 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2019, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเจ้าติโลกราช, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างกำแพง, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระวิหาร, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-บรรจุพระธาตุ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-ฉลองพระพุทธรูป, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองนครลำปาง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองนครลำปาง-เจ้าหมื่นคำเพชร, บุคคล-เจ้าหมื่นคำเพชร,

จารึกเจ้าหมื่นคำเพชร

จารึก

จารึกเจ้าหมื่นคำเพชร

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2566 09:03:25 )

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าหมื่นคำเพชร

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลป. 1, ลป. 1 จารึกเจ้าหมื่นคำเพชร พ.ศ. 2019, จารึกในจังหวัดลำปาง, หลักที่ 65 ศิลาจารึกจังหวัดลำปาง, 1.6.1.1 วัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2019

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2019

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 17 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 39 ซม. สูง 74 ซม. หนา 4.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลป. 1”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (สิงหาคม 2495) กำหนดเป็น “จารึกในจังหวัดลำปาง”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 65 ศิลาจารึกจังหวัดลำปาง”
4) ในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 7 กำหนดเป็น “1.6.1.1 วัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2019”
5) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ลป. 1 จารึกเจ้าหมื่นคำเพชร พ.ศ. 2019”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

บริเวณโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (เดิมชื่อ โรงเรียนสตรีวัฒนา) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 31 ตุลาคม 2564)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (สิงหาคม 2495) : 89-93.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 152-155.
3) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 7 (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547), 13-20.
4) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 200-201.

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2019 เจ้าหมื่นคำเพชรขึ้นครองเมืองนคร ได้ยกพระธาตุเจ้าไว้ในลำพาง ก่อกำแพงแปลงวิหาร และสร้างพระพุทธรูป 1 องค์ จากนั้นได้จัดพิธีฉลองพระพุทธรุป ด้วยการอุทิศที่ดิน และข้าพระ โดยหวังจักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในกาลภายหน้า

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 838 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2019 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984-2030)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ลป. 1 จารึกเจ้าหมื่นคำเพชร พ.ศ. 2058,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 200-201.
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านจารึกในจังหวัดลำปาง จ.ศ. 838 (พ.ศ. 2019) ที่ขุดพบที่บริเวณโรงเรียนสตรีวัฒนา,” ศิลปากร 6, 3 (2495) : 89-93.
4) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 65 ศิลาจารึกจังหวัดลำปาง,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 152-155.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 2 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551)