จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกบนตราดินเผาเมืองจันเสน 5 (เลขทะเบียน 2992/38)

จารึก

จารึกบนตราดินเผาเมืองจันเสน 5 (เลขทะเบียน 2992/38) ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เวลา 14:44:17

ชื่อจารึก

จารึกบนตราดินเผาเมืองจันเสน 5 (เลขทะเบียน 2992/38)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จส. 2992/38

อักษรที่มีในจารึก

ยังไม่เป็นที่ยุติ

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ยังไม่เป็นที่ยุติ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2539)
2) Ravindra Vasishtha และ จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา (พ.ศ. 2547)
3) กรรณิการ์ วิมลเกษม และ ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย (พ.ศ. 2547)
 

ผู้ตรวจ

1) ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2539)
2) Ravindra Vasishtha และ จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา (พ.ศ. 2547)
3) ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย (พ.ศ. 2547)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบรูปอักษร จะเห็นว่าใกล้เคียงกับจารึกเสาแปดเหลี่ยม จังหวัดลพบุรี ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 14 และจารึกพระศรีวัตสะ พ.ศ. 1372 ข้อสังเกตที่ชัดเจน คือ บ่าอักษร “ก” “น” “ภ” และ “ว” ซึ่งปลายเส้นทั้ง 2 ของบ่าโค้งขึ้น อันเป็นลักษณะที่ปรากฏเฉพาะในพุทธศตวรรษที่ 14
2. ชะเอม แก้วคล้าย : “การได้รับชัยชนะของเจ้าชายหนุ่ม” เป็นการแปลมาจากคำศัพท์ “ภาร” ซึ่งแปลว่า สิ่งของมีน้ำหนักที่จะต้องแบบหามไป แต่ภาษาสันสกฤตโบราณที่ใช้เฉพาะถิ่น แปลว่า เจ้าชาย ส่วนศัพท์ว่า “กน” แปลว่า ส่องแสง, รักใคร่, เข้าหา แต่ภาษาสันสกฤตโบราณแปลว่า ผู้ที่หนุ่มแน่น ศัพท์ว่า “วิฏ” มาจาก “วิศฺ” แปลว่า ถึง, เข้าถึง เมื่อประกอบด้วย “ส” วิภักติ จึงแปลง “ศฺ” เป็น “ฏ” ดังนั้น ภาพตราประทับคนขี่ม้าทั้งสองที่อยู่ในอาการเริงร่าคึกคะนอง คงเป็นภาพเจ้าชายของชนเผ่าใดชนเผ่าหนึ่งที่ได้รับชัยชนะในการทำศึกสงครามนั่นเอง