จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกบนกรอบประตูหลังของพระอุโบสถวัดบรมนิวาส

จารึก

จารึกบนกรอบประตูหลังของพระอุโบสถวัดบรมนิวาส ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เวลา 15:10:39

ชื่อจารึก

จารึกบนกรอบประตูหลังของพระอุโบสถวัดบรมนิวาส

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 157 อักษรเขียนด้วยหมึกบนกรอบประตูด้านหลังในพระอุโบสถวัดบรมนิวาสฯ

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2517)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2517)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สัตตรตน, สัตตรัตนะ น่าจะหมายถึงแก้วทั้ง 7 ซึ่งเป็นสมบัติแห่งจักรพรรดิ ได้แก่ (1) จักรรัตนะ คือ จักรแก้ว หมายถึง การมีอำนาจ หรือเดชานุภาพแผ่ขยายไปทั่วทุกทิศ (2) หัตติรัตนะ คือ ช้างแก้ว หมายถึง การแสดงออกซึ่งความมีบารมีที่ยิ่งใหญ่ ความมั่นคง (3) อัสสรัตนะ คือ ม้าแก้ว หมายถึง การมีบริวารข้าทาสรับใช้ที่ดี (4) มณีรัตนะ คือ มณีแก้ว หมายถึง ความสว่าง ความมีสติปัญญา ความรู้ (5) อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หมายถึง ได้คู่ครองที่ดี มีความงดงาม (6) คหปติรัตนะ คือ ขุนคลังแก้ว หมายถึง ความมีทรัพย์สิน เงินทองบริบูรณ์ (7) ปริณายกรัตนะ คือ ขุนพลแก้ว หมายถึง ที่ปรึกษาคู่ใจ ผู้ให้ความรู้ ผู้ปกป้องคุ้มครอง รวมถึงบุตรที่ดี
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เสาอินทขิล คือ เสาหลักเมือง
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อริยทรัพย์ คือ ทรัพย์อันประเสริฐ 7 อย่าง ได้แก่ (1) ความเชื่ออย่างมีเหตุผล (2) ความประพฤติดีมีศีล (3) ความละอายต่อความชั่ว (4) ความเกรงกลัวต่อความชั่ว (5) ความรู้หรือการศึกษาดี (6) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (7) ปัญญา
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เกษมจากโยคธรรม คือ ความพ้นภัยจากกิเลส
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก มี 9 ได้แก่ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อริยสงฆ์ หมายถึง พระสงฆ์ที่เป็นอริยบุคคล คือ ผู้บรรลุธรรมตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ (อริยบุคคล มี 4 ระดับ คือ ได้แก่ (1) โสดาบัน (2) สกทาคามี (3) อนาคามี (4) อรหันต์)
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ไตรสิกขา หมายถึง สิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา/ปฏิบัติ) 3 ได้แก่ (1) ศีล เรียกว่า สีลสิกขา (2) สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา (3) ปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา