จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกบนแผ่นไม้บุษบกธรรมาสน์ วัดมณีชลขัณฑ์

จารึก

จารึกบนแผ่นไม้บุษบกธรรมาสน์ วัดมณีชลขัณฑ์ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 16:09:25

ชื่อจารึก

จารึกบนแผ่นไม้บุษบกธรรมาสน์ วัดมณีชลขัณฑ์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลบ. 32

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2225

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 11 บรรทัด

ผู้อ่าน

ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (พ.ศ. 2530)

ผู้ปริวรรต

ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (พ.ศ. 2530)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : หมายถึง วันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือนยี่
2. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : “พระวษา” หมายถึง ปี
3. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : “ใสยศักราช” คือ จุลศักราช
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ใสยศักราช 1043” ในที่นี้ตรงกับ พ.ศ. 2225 รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยอยุธยาตอนปลาย (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231)
5. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ตรีนิศก (ตรีศก) หมายถึง จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 3
6. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : 4 เป็นมาตราวัดตามวิธีประเพณี ในที่นี้คือ 4 วา
7. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : 18 เป็นมาตราวัดตามประเพณี ในที่นี้ คือ 18 วา
8. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : 2 x 2 เป็นมาตราเงินวัดตามประเพณี ในที่นี้คือ 2 ตำลึง 2 บาท 
9. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : “เหลียก” หมายถึง ทำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้เป็นเสี้ยวเล็กๆ
10. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : เป็นมาตราเงินตามวิธีประเพณี ในที่นี้คือ 5 บาท
11. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : “ฉลัก” หมายถึง แกะให้เป็นลวดลาย
12. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : 7/3/1 เป็นมาตราเงินวัดตามวิธีประเพณี ในที่นี้คือ 7 ตำลึง 3 บาท 1 สลึง
13. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : 2/2/1 เป็นมาตราเงินวัดตามวิธีประเพณี ในที่นี้คือ 2 ตำลึง 2 บาท 1 สลึง
14. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : “แม่ออก” เป็นคำเรียกคฤหัสถ์หญิงที่เป็นโยมของตัวหรือของผู้ที่มีอายุสูงกว่า
15. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : 3/ เป็นมาตราเงินวัดตามวิธีประเพณี ในที่นี้คือ 3 ตำลึง
16. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : 4/ เป็นมาตราเงินวัดตามวิธีประเพณี ในที่นี้คือ 4 ตำลึง
17. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : “สิริ” หมายถึง รวม
18. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : “ฉลบ” หมายถึง ถม, ปิด
19. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : 7/2/1/1 เป็นมาตราเงินวัดตามวิธีประเพณี ในที่นี้คือ 7 ตำลึง 2 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง
20. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : “คุก” อ่านว่า คุ กะ เป็นคำย่อ สันนิษฐานว่าน่าจะย่อมาจากคำที่มีความหมายเหล่านี้ คือ คุ-คุโณ หมายถึง คุณ (ธรรมอันชนสั่งสม) ก-กรณีย หมายถึง กิจอันบุคคลพึงกระทำ)