จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกเจ้าอัตถวรปัญโญเสริมยอดพระธาตุแช่แห้ง

จารึก

จารึกเจ้าอัตถวรปัญโญเสริมยอดพระธาตุแช่แห้ง ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:14

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าอัตถวรปัญโญเสริมยอดพระธาตุแช่แห้ง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 16, นน. 16 จารึกเจ้าอัตถวรปัญโญเสริมยอดพระธาตุแช่แห้ง พ.ศ. 2332

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2332

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 41 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 17 บรรทัด

ผู้อ่าน

โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้แปล

โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “ศรี” หมายถึง สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ
2. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “สิทธิ” หมายถึง อำนาจอันชอบธรรม, ความสำเร็จ
3. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “วิวิธ” หมายถึง ต่างๆ, หลายอย่าง
4. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “วิมล” หมายถึง ปราศจากมลทิน
5. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2545) : “พหล” หมายถึง มาก, ใหญ่, หนา, ทึบ
6. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2545) : “สวัสดี” หมายถึง ความดี, ความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง
7. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2545) : “นบ” หมายถึง ไหว้, นอบน้อม
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จุลศักราชได้ 1151 ตัว” ตรงกับ พ.ศ. 2332 ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งในขณะนั้นมีเจ้าอัตถวรปัญโญเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน
9. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “สนำ” / ฉนำ หมายถึง ปี (ภาษาเขมร)
10. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “กัมโพช” หมายถึง ขอม
11. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “ขอมพิสัย” หมายถึง ถิ่นขอม
12. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “เหมันตฤดู” หมายถึง ฤดูหนาว
13. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “มิคสิรมาส” คือ เดือนมิคศิร คือ เดือนธันวาคม หรือ เดือน 3 ของทางล้านนา (เดือนอ้ายของภาคกลาง)
14. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “ศุกลปักษ์” หมายถึง ปักษ์สว่างหรือครึ่งเดือนที่เป็นข้างขึ้น
15. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “ปุณมี” หมายถึง วันเพ็ญ, วันพระจันทร์เต็มดวง
16. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “พุธกวาร” หมายถึง วันพุธ
17. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “ไถง” หมายถึง วัน, ตะวัน (ในที่นี้หมายถึง วัน)
18. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “ไทยภาษา” หมายถึง ธรรมเนียมอย่างไทย, แบบไทย
19. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “ปีกัดเร้า” เป็นชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีระกา เอกศก ตามจุลศักราช
20. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “เพ็ง” หมายถึง วันเพ็ญ คือ วันที่พระจันทร์เต็มดวง หรือวันขึ้น 15 ค่ำ
21. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “เม็ง” หมายถึง มอญ (ในที่นี้ใช้ว่า เม็งวัน 4 หมายถึง มอญเรียกว่าวัน พุธ)
22. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “วัน 4“ หมายถึง วันพุธ
23. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “ไทยเปิกสี” หมายถึง ไทยวันเปลิกสี เป็นชื่อวันไทยโบราณ
24. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “ติถี 15” หมายถึง วันข้างขึ้นหรือข้างแรม ในที่นี้เป็นวันข้างขึ้น 15 ค่ำ
25. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “จันทรจรณยุคติ” หมายถึง พระจันทร์โคจรไปสิ้นสุด
26. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “มิคสิร” หรือ มฤคศิระเป็นชื่อดาวฤกษ์หมู่ที่ 5 (ดาวหัวเนื้อ) มี 3 ดวง (อาครหายณี ก็ว่า)
27. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “วิสัมภราศี” หมายถึง พฤษภราศี ราศีดาวรูปโค
28. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “คลา” หมายถึง เดิน, เคลื่อน, คล้อย
29. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “ล่วง” หมายถึง ผ่านข้ามจากจุดหนึ่งเข้าไปถึงอีกจุดหนึ่ง
30. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “วัสสา” หมายถึง พรรษา, ปี
31. กรรณิการ์ วิมลเกษม และประเสริฐ ณ นคร : “ปลาย” หมายถึง เศษ, เหลือ, อีก
32. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “วันพรูก” หมายถึง วันพรุ่งนี้
33. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เจ้าอัตถวรปัญโญ” เป็นเจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ. 2329–2353 ทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์หลวงติ๋นมหาวงศ์ ประชวรถึงแก่พิราลัยเมื่อ พ.ศ. 2353 ที่กรุงเทพ ฯ ในขณะลงมาปลงพระศพรัชกาลที่ 1
34. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “หัน” หมายถึง เห็น
35. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “ชิณชรา” หมายถึง เก่าคร่ำคร่า
36. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “สุทธสัทธา” หมายถึง เลื่อมใสด้วยบริสุทธิ์ใจ
37. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “อสังขาริก” หมายถึง ไม่มีเจตนา
38. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “รัง” หมายถึง สร้าง, แต่ง, ทำ
39. โครงการวิจัยและปริวรรตฯ : “แปลง” หมายถึง สร้าง