จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกหีบพระธรรม วัดบุญยืน

จารึก

จารึกหีบพระธรรม วัดบุญยืน ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:11

ชื่อจารึก

จารึกหีบพระธรรม วัดบุญยืน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 55 จารึกหีบพระธรรมวัดบุญยืน, จารึกหีบพระธรรมวัดบุญยืน

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2338

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530, (พ.ศ. 2537)

ผู้แปล

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530, (พ.ศ. 2537)

ผู้ตรวจ

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2530)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เทิม มีเต็ม : “ศรีสวัสดี” หมายถึง ขอความสิริสวัสดี
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จุลศกพท 1157 ตัว” เทิม มีเต็ม ระบุว่า จุลศักราช 1157 ตรงกับ พ.ศ. 2338 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นปีที่เจ้าอัตถวรปัญโญผู้ครองนครน่านให้สร้างหอไตรขึ้นในวัดกลางเวียง (วัดบุญยืน)
3. เทิม มีเต็ม : “ปีโถะ” หมายถึง ปีเถาะ
4. เทิม มีเต็ม : “สนำ”, “ฉนำ” หมายถึง ปี
5. เทิม มีเต็ม : “ขอมพิสัย” หมายถึง ตามแบบขอม
6. เทิม มีเต็ม : “วัสสานอุตุ” หมายถึง ฤดูฝน
7. เทิม มีเต็ม : “ปัณณรสมี” หมายถึง ที่ 15 ใช้ในคำว่าขึ้น 15 ค่ำ หรือ แรม 15 ค่ำ
8. เทิม มีเต็ม : “ภุมวาร” หมายถึง วันอังคาร
9. เทิม มีเต็ม : “ไถง” หมายถึง วัน
10. เทิม มีเต็ม : “ไทยภาษาว่า” หมายถึง ตามแบบไทยว่า
11. เทิม มีเต็ม : “ปีดับเหม้า”, “ปีดับเม้า” คือ ปีเถาะ สัปตศก
12. เทิม มีเต็ม : “เดิอรเจียง”, “เดือนเจียง” คือ เดือนอ้ายหรือเดือน 1
13. เทิม มีเต็ม : “เพ็ง” หมายถึง ขึ้น 15 ค่ำ ชาวล้านนาออกเสียงเป็น “เป็ง”
14. เทิม มีเต็ม : “เม็ง” หมายถึง มอญ
15. เทิม มีเต็ม : “พร่ำว่า” หมายถึง นับว่า, นับได้
16. เทิม มีเต็ม : “วัน 7” หมายถึงวันเสาร์
17. เทิม มีเต็ม : “ไทยก่าไก๊” ป็นชื่อวันแบบหนึ่งในสมัยโบราณ
18. เทิม มีเต็ม : “ปฐมมูลศรัทธา” หมายถึง ผู้ริเริ่ม
19. เทิม มีเต็ม : “ภายใน” ในที่นี้หมายถึงทางฝ่ายคณะสงฆ์ หรือทางฝ่ายพระพุทธศาสนา
20. เทิม มีเต็ม : “อันเตวาสิกชู่คน” หมายถึง บรรดาศิษย์ทุกคน
21. เทิม มีเต็ม : “หน” หมายถึง ฝ่าย, ทิศ
22. เทิม มีเต็ม : “ศรัทธาอุปถัมภกภายนอก” หมายถึง ผู้ช่วยเหลือทางฝ่ายบ้านเมือง
23. เทิม มีเต็ม : “มหาราชหลวง” หมายถึง ตำแหน่งของเจ้าผู้ครองนครหรือเจ้าเมืองที่กล่าวถึงด้วยความยกย่องสรรเสริญเทียบเท่าพระมหากษัตริย์แบบโบราณ ในที่นี้คงหมายถึงเจ้าอัตถวรปัญโญ (ครองเมืองระหว่าง พ.ศ. 2329 - 2353)
24. เทิม มีเต็ม : “แสนอาสา แสนหนังสือขานถ้วน” เข้าใจว่าจะเป็นตำแหน่งข้าราชการสมัยโบราณของเมืองน่าน?
25. เทิม มีเต็ม : “นางโนชา” อาจเป็นชายาของเจ้าอัตถวรปัญโญ ซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวบ้านน้ำลัด
26. เทิม มีเต็ม : “ทายกทล้า” หมายถึง ทายกทั้งหลาย
27. เทิม มีเต็ม : “บ้านน้ำลัด” อยู่ในตำบลท่าน้าว อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
28. เทิม มีเต็ม : “ชู่คน” หมายถึง ทุกคน
29. เทิม มีเต็ม : “ไว้หื้อเป็น” หมายถึง ไว้ให้เป็น
30. เทิม มีเต็ม : “ที่สถิตย์” ในที่นี้หมายถึง ที่เก็บรักษา
31. เทิม มีเต็ม : “สัมพัทธวัจนธรรมเทศนาเจ้า” หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า
32. เทิม มีเต็ม : “เพื่อบ่หื้อ” หมายถึง เพื่อมิให้ เพื่อไม่ให้
33. เทิม มีเต็ม : “เรียรายเสี้ยง” หมายถึง มิให้กระจัดกระจายหมดสิ้นไป
34. เทิม มีเต็ม : “ดีหลี” หมายถึง เที่ยงแท้, ดีจริงๆ
35. เทิม มีเต็ม : “บุญรวายสี” คือ บุญราศี
36. เทิม มีเต็ม : “เยิงนี้”, “เยื่องนี้” หมายถึง อันนี้
37. เทิม มีเต็ม : “ผู้ข้าทล้า” หมายถึง พวกเราทั้งหลาย
38. เทิม มีเต็ม : “ติวิธสุข 3 ประการ” ได้แก่ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ
39. เทิม มีเต็ม : “มีนิพพานเป็นยอด” หมายถึง มีนิพพานเป็นที่สุด
40. เทิม มีเต็ม : “อย่าคลาดอย่าคลา” หมายถึง อย่าให้คลาดเคลื่อน, อย่าให้ผิดความหวัง
41. เทิม มีเต็ม : “ตามมโนรถปรารถนา” หมายถึง ตามที่ตั้งใจ, ตามที่ปรารถนา
42. เทิม มีเต็ม : “ชู่ตน” หมายถึง ทุกตน
43. เทิม มีเต็ม : “เทอะ” คือ เถอะ หรือ เถิด ชาวล้านนาออกเสียงเป็น “เต๊อะ” ใช้เป็นคำจบข้อความ