จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกบนระฆังวัดพระสิงห์

จารึก

จารึกบนระฆังวัดพระสิงห์ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2557 เวลา 10:36:55

ชื่อจารึก

จารึกบนระฆังวัดพระสิงห์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 22 จารึกวัดพระยาแสนหลวงพิงคไชย, ชม. 22 จารึกบนระฆังวัดพระสิงห์ พ.ศ. 2129

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2129

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด

ผู้อ่าน

โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

ผู้ปริวรรต

โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

ผู้ตรวจ

โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

เชิงอรรถอธิบาย

1. โครงการวิจัยฯ (2551) : มีคำแปลดังนี้ “ด้วยเดชะบุญนี้ ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด มีความกล้าหาญ ทรงไว้ซึ่งธรรมอันประเสริฐ ขอเวรทั้งหลายทั้งปวงของข้าพเจ้าจงสงบ” ผู้แปล นายเทิม มีเต็ม
2. โครงการวิจัยฯ (2551) : “ปีระวายเส็ด” ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีจอ อัฐศก ตามจุลศักราช
3. โครงการวิจัยฯ (2551) : “เดือน 9” เดือน 9 ของภาคเหนือตรงกับเดือน 7 ของภาคกลาง
4. โครงการวิจัยฯ (2551) : “ออก” คือ ขึ้น, ข้างขึ้น, วันข้างขึ้น
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2557) : “วัน 4” หรือ วันลำดับที่ 4 คือ วันพุธ (แปลเทียบจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1)
6. โครงการวิจัยฯ (2551) : “รืก” คือ ฤกษ์ หมายถึง กลุ่มดาวนักขัตฤกษ์ กลุ่มดาวฤกษ์ที่พระจันทร์โคจรไปถึง
7. โครงการวิจัยฯ (2551) : “หน” คือ ทาง, ฝ่าย, ข้าง, ด้าน, ทิศ
8. โครงการวิจัยฯ (2551) : “สีหล” สิงหล คือ ประเทศศรีลังกา
9. โครงการวิจัยฯ (2551) : “เดง” คือ ระฆัง
10. โครงการวิจัยฯ (2551) : “หื้อ” คือ ให้
11. โครงการวิจัยฯ (2551) : “จุ่ง” คือ จง
12. โครงการวิจัยฯ (2551) : “ทึน, ทืน” คือ เทอญ ใช้เป็นคำลงท้ายจบข้อความ