จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพระพุทธฎีกาสมเด็จพระคุรุจุฬามุณีศรีสังฆราช

จารึก

จารึกพระพุทธฎีกาสมเด็จพระคุรุจุฬามุณีศรีสังฆราช ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:17:49

ชื่อจารึก

จารึกพระพุทธฎีกาสมเด็จพระคุรุจุฬามุณีศรีสังฆราช

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกเลขที่ 3/6

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1990

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด ตามความยาวของแผ่นจารึกมี 4 บรรทัด ตามขวางริมซ้ายของแผ่นจารึกมี 2 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529) (ตรวจคำอ่าน)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เนื่องจากยังไม่พบว่ามีการปริวรรตจารึกนี้ในเอกสารใดๆ จึงได้ทำการปริวรรตเพิ่มเติมโดย คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2557)
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2557) : ใน คำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 ตัวพยัญชนะ “ต” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “ด” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ต” และ “ด” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานโครงการพัฒนาฐานข้อมูลฯ จึงแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “ด” ให้อ่านเป็น “ต” ทั้งหมด
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2557) : ใน จารึกในประเทศไทย อ่านเป็น “ ั ” ซึ่งจริงๆ แล้วสัญลักษณ์ตัวนี้ไม่ใช่ไม้หันอากาศ แต่เป็น “งฺ” ดังนั้น ในการเผยแพร่ครั้งนี้คณะทำงานโครงการพัฒนาฐานข้อมูลฯ จึงขอแก้ไขคำอ่านจาก “ ั ” เป็น “งฺ” เพื่อความชัดเจน และง่ายต่อความเข้าใจ
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2557) : “จาร” คำนี้น่าจะเป็นคำเขมรที่แปลว่า “เขียน” มากกว่า เนื่องจากพิจารณารูปคำแล้วไม่พบพยัญชนะที่เป็นการันต์ อีกทั้งเมื่อพิจารณาข้อความในจารึกแล้วเห็นว่าคำ “จาร” ที่แปลว่า “เขียน” นี้ทำให้เนื้อความในจารึกมีความสมบูรณ์มากขึ้น