โพสต์เมื่อวันที่
17 ก.พ. 2555 17:17:59
ชื่อจารึก |
หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา 1 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษากรมการเมืองตะนาวศรี, เอกสารโบราณ อักษรและภาษาไทย สมัยอยุธยา แผ่นที่ 2 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยอยุธยา |
ศักราช |
พุทธศักราช 2164 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 17 บรรทัด |
ผู้อ่าน |
1. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ (พ.ศ. 2482) |
ผู้ปริวรรต |
ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2512) |
ผู้ตรวจ |
- |
เชิงอรรถอธิบาย |
1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จีนไท” เมื่อพิจารณาจากตัวอักษรที่ปรากฏในหนังสือฉบับนี้ พบว่าน่าจะอ่านเป็น “จีนดา” (จินดา)ตามคำอ่านของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ (พ.ศ. 2482) และ คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์วัฒน-ธรรมและโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2510) 5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : กาปิดตันกราเบ็กดีลมาศ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า หมายถึง Captain Grappe (Roland Grappe) โดยสืบค้นมาจากจดหมายเหตุเดนมาร์ค เอกสารบางฉบับสะกดเป็น “กรเบศ” กัปตันคนดังกล่าวเป็นชาวฮอลันดา ส่วนคำว่า ดีลมาศ หมายถึง เดนมาร์ค
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ฦา” เมื่อพิจารณาจากตัวอักษรที่ปรากฏในหนังสือฉบับนี้ พบว่าน่าจะอ่านเป็น “ฤ” ตามคำอ่านของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ (พ.ศ. 2482) และ คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2510) 7. คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี “จังกอบแลรีดชา” จังกอบ คือ ภาษีผ่านด่าน หรือ ภาษีปากเรือ ส่วนรีดชา (ฤาชา) คือ ค่าธรรมเนียม 8. ประสาร บุญประคอง : “มรสุม” = คราว 9. ประสาร บุญประคอง : “ชราบ” = ทราบ 10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ตรีนิศก/ตรีศก” หมายถึงจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 3 ระกา ตรีศก ในที่นี้ คือ จ.ศ. 923 ตรงกับ พ.ศ. 2164 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยา (ครองราชย์พ.ศ. 2163-2171) |