เชิงอรรถอธิบาย |
1. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “ศักพทะ 1177 ตัว” หมายถึง จุลศักราช 1177 ตรงกับพุทธศักราช 2538
2. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “ปีดับไค้” หมายถึง ชื่อปีไทยโบราณ ตรงกับปีกุนที่ศักราชลงท้ายด้วยเลข 7 (ดับ คือแม่ปี หรือชื่อศกไทยโบราณและเป็นชื่อที่บอกเลขตัวสุดท้ายของศก ดับ เป็นศกที่ลงท้ายด้วยเลข 7 ใช้เขียนผสมกับลูกปีหรือชื่อปีนักษัตรหนไทย ในที่นี้คือ ไค้ ซึ่งตรงกับปีกุน)
3. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “เดือน 9” หมายถึง เดือน 9 ของภาคเหนือตรงกับเดือนมิถุนายน
4. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “วัน 6” หมายถึง วันศุกร์
5. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “ยามตูดซ้าย” หมายถึง เวลา 12.00-13.00 น.
6. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “เฝิก” หมายถึง ฝึก
7. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “แต้ม” หมายถึง วาด
8. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “ผ้าบด” หมายถึง “พระบฏ” ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้า 5 พระองค์เป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา หรือหมายถึงเรื่องของพระพุทธเจ้าที่ได้เขียนเป็นภาพลงบนผืนผ้าถือเป็นจิตรกรรมประเภทหนึ่งในบรรดาพุทธศิลปกรรมประเภทต่างๆ
9. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย :“ประจัย” หมายถึง ปัจจัย
10. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “โลกุตร” หมายถึง เหนือโลก, พ้นวิสัยโลก
11. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : คำอ่านเป็นคำบาลีที่ถูกต้อง
12. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : คำอ่านเป็นคำบาลีที่ถูกต้อง
13. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : คำอ่านเป็นคำบาลีที่ถูกต้อง
14. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : คำอ่านเป็นคำบาลีที่ถูกต้อง
15. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : คำอ่านเป็นคำบาลีที่ถูกต้อง
16. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : คำอ่านเป็นคำบาลีที่ถูกต้อง
17. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : คำอ่านเป็นคำบาลีที่ถูกต้อง
18. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : คำอ่านเป็นคำบาลีที่ถูกต้อง
19. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : คำอ่านเป็นคำบาลีที่ถูกต้อง
20. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : คำอ่านเป็นคำบาลีที่ถูกต้อง
21. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : คำอ่านเป็นคำบาลีที่ถูกต้อง
22. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “คำปรารถนา” หมายถึง ความปรารถนา, ความต้องการ, คำอธิษฐาน
23. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “วิโมกขธรรม” หมายถึง ความหลุดพ้น การขาดจากความพัวพันแห่งโลก ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่ ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1) ผู้มีรูปมองเห็นรูปทั้งหลาย (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตนเช่น สีผม)
2) ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก (ได้แก่ รูปฌานทั้ง 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณกำหนดอารมณ์ภายนอก)
3) ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า “งาม” (ได้แก่ ฌานของผู้เจริญกสิณกำหนดสีที่งามหรือเจริญอัปปมัญญา)
4) เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไปเพราะไม่ใส่นานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่าอาการ หาที่สุดมิได้
5) เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้
6) เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะโดยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเลย
7) เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่
8) เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
24. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “ปฏิสัมภิทา 4” หมายถึง ปัญญาแตกฉาน 4 ประการ
1) อรรถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
2) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
3) นิรุกติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ
4) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิสัมภิทา
25. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “อภิญญา 6” หมายถึง ความรู้ยิ่งยวด 6 ประการ
1) อิทธิวิธิ ญาณทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
2) ทิพพโสต ญาณทำให้หูทิพย์
3) เจโตปริยาญาณ ญาณทำให้กำหนดใจคนอื่นได้
4) ปุพเพนิวาสนุสติญาณ ญาณทำให้ระลึกชาติได้
5) ทิพพจักขุ ญาณทำให้มีตาทิพย์
6) อาสวักขยญาณ ญาณทำให้สินอาสวะ
26. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “ปัญญา 3” หมายถึง ความรอบรู้ 3 ประการ
1) จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การคิด พิจารณาหาเหตุผล
2) สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การศึกษาเล่าเรียน
3) ภาวนามยปัญญา ปัญญหาเกิดแต่การฝึกอบรม ลงมือปฎิบัติ
27. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “อย่า” หมายถึง คำบาลีคือ มา เป็นคำที่เกินมาต้องตัดออก
28. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “ขณะ 8 ประการ” คือธรรมสโมธาน 8 หมายถึงเงื่อนไข 8 ประการ เพื่อความเป็นพุทธะ ได้แก่
1) เป็นมนุษย์
2) เป็นเพศชาย
3) เป็นผู้มีคุณธรรมพร้อมที่จะบรรลุอรหัตผลได้
4) ทำปฏิญญาเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า
5) หลังจากทำปฏิญญาแล้วต้องสละชีวิตทางโลกวิสัย
6) ต้องอุทิศร่างกายแม้กระทั่งชีวิตเพื่อพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง
7) เป็นผู้ประกอบด้วยอภิญญา 5 และสมาบัติ 8
8) เป็นผู้มีความกระตือรือร้นอย่างแท้จริง
29. กรรณิการ์ วิมลเกษม และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย : “สมาบัติ 8 ประการ” หมายถึง คุณวิเศษเป็นที่อันบุคคลเข้าถึง หรือธรรมวิเศษที่ควรเข้าถึง, การบรรลุขั้นสูง ได้แก่ ญาน 8 คือ รูปญาน 4 และอรูปญาน 4
|