อายุ-จารึก พ.ศ. 2465, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 6, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, วัตถุ-จารึกบนทองแดง, ลักษณะ-จารึกสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกโรพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพฯ, เรื่อง-การบันทึกเหตุการณ์, เรื่อง-การบันทึกเหตุการณ์-สร้างประติมากรรม, เรื่อง-การสร้างประติมากรรม, บุคคล-พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2567 16:09:31 )
ชื่อจารึก |
จารึกที่อนุสาวรีย์ท้าวหิรัญพนาสูร |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หลักที่ 284 จารึกบนโลหะทองแดง |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
พุทธศักราช 2465 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ทองแดง |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 21 ซม. สูง 26 ซม. หนา 2 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 284 จารึกบนโลหะทองแดง” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
อนุสาวรีย์ท้าวหิรัญพนาสูร ด้านหลังโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
อนุสาวรีย์ท้าวหิรัญพนาสูร ด้านหลังโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 239-240. |
ประวัติ |
จารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 284 จารึกบนโลหะทองแดง” |
เนื้อหาโดยสังเขป |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างประติมากรรมท้าวหิรัญพนาสูรเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏบนจารึกว่า “พระพุทธศักราช 2465” ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 6) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521) |