จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกที่ศาลาเล็กวัดบวรนิเวศฯ 2

จารึก

จารึกที่ศาลาเล็กวัดบวรนิเวศฯ 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2567 16:04:18 )

ชื่อจารึก

จารึกที่ศาลาเล็กวัดบวรนิเวศฯ 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 172 จารึกที่ศาลาเล็กวัดบวรนิเวศฯ, จารึกศาลาสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา

อักษรที่มีในจารึก

ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 8 บรรทัด ด้านละ 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้สักทาสีแดงเข้ม

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 64 ซม. สูง 30 ซม. หนา 1 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 172 จารึกที่ศาลาเล็กวัดบวรนิเวศฯ”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 46 ฉบับที่ 1 กำหนดเป็น “จารึกศาลาสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ศาลาสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา ภายในบริเวณวัดบวรนิเวศ แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ศาลาสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา ภายในบริเวณวัดบวรนิเวศ แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 73.
2) วารสารศิลปากร ปีที่ 46 ฉบับที่ 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2546) : 98-103.

ประวัติ

จารึกนี้มีการตีพิมพ์ครั้งแรกใน ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 172 จารึกที่ศาลาเล็กวัดบวรนิเวศฯ” อ่านโดย ประสาร บุญประคอง และแปลโดย พระมหาวิชาธรรม (เรือง เปรียญ) นอกจากนี้ยังมีจารึกอีกแผ่นหนึ่งที่กล่าวถึงประวัติของศาลาเล็กเช่นเดียวกับจารึกนี้ โดยใช้อักษรและภาษาไทย (ดูเพิ่มเติมได้ใน จารึกที่ศาลาเล็กวัดบวรนิเวศ 1) ต่อมาใน พ.ศ. 2545 วัดบวรนิเวศและกรมศิลปากรร่วมกันบูรณะศาลาสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา หรือ ศาลาเล็กวัดบวรนิเวศฯ จึงพบว่าจารึกซึ่งอยู่ภายในศาลาดังกล่าวอยู่ในสภาพชำรุด อีกทั้งคำอ่าน-แปลเดิมที่เคยตีพิมพ์ไปแล้วนั้นยังมีความคลาดเคลื่อน จึงให้นักภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติทำการอ่าน แปลและจำลองอักษรขึ้นใหม่เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 และตีพิมพ์ลงใน วารสารศิลปากร ปีที่ 46 ฉบับที่ 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2546)

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงประวัติศาลาเล็ก ว่าเดิมเป็นพลับพลาของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี หลังจากสวรรคต จึงมีการถวายให้เป็นศาลาสงฆ์ในวัดบวรนิเวศ ตอนท้ายกล่าวอุทิศส่วนพระราชกุศลแด่พระองค์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร,โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 172 จารึกที่ศาลาเล็กวัดบวรนิเวศฯ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 73.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 10 พฤษภาคม 2558