โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 20:20:52 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดสระแก้ว |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
อบ. 7, K. 1096 |
อักษรที่มีในจารึก |
หลังปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 13-14 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 45 ซม. สูง 63 ซม. หนา 16.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อบ. 7” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดสระแก้ว ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดสระแก้ว ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี (ข้อมูลวันที่ 12 มีนาคม 2563) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 284-286. |
ประวัติ |
เมื่อ พ.ศ. 2518 คณะสำรวจเอกสารโบราณของกองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เดินทางไปสำรวจเอกสารโบราณในภาคอีสาน ขณะสำรวจศิลาจารึกอยู่ที่ วัดสุปัฏนาราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุบลราชธานีอยู่นั้น ท่านพระครูวิมลอุปลารักษ์ ได้แจ้งให้ทราบว่า ณ วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ขุดพบศิลาจารึก คณะสำรวจเอกสารโบราณ จึงเดินทางไปสำรวจพบ และได้ทำสำเนาจารึกดังกล่าวไว้ และตั้งชื่อว่า “ศิลาจารึกวัดสระแก้ว (อบ. 7)” |
เนื้อหาโดยสังเขป |
จารึกชำรุดเกือบทั้งด้าน เหลืออ่านได้เพียง 2 บรรทัดเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ครบบรรทัดอีกเช่นกัน ที่อ่านได้เป็นชื่อของ “มหิปติวรมัน” เท่านั้น ชื่อนี้ ไม่ปรากฏในทำเนียบพระมหากษัตริย์ของเมืองพระนคร ดังนั้นจึงขอสันนิษฐานว่า “มหิปติวรมัน” นี้ น่าจะเป็นผู้ปกครองท้องถิ่น ซึ่งอาจได้รับอำนาจปกครองมาจากเมืองพระนครให้ปกครองแว่นแคว้นแห่งนี้ |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-08, ไฟล์; OB_008) |