อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 14, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1, วัตถุ-จารึกบนทองแดง, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-บูชาเทพเจ้า, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1, บุคคล-พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1, บุคคล-พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 18:34:26 )
ชื่อจารึก |
จารึกแผ่นทองแดงอู่ทอง |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หลักที่ 34 จารึกแผ่นทองแดงอู่ทอง, U T’ông (K. 964), K. 964, สพ. 3 |
อักษรที่มีในจารึก |
หลังปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 13-14 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ทองแดง |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 28 ซม. ยาว 42 ซม. หนา 2 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สพ. 3” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2500 |
สถานที่พบ |
เมืองโบราณอู่ทอง บริเวณตรงกันข้ามกับโรงเรียนอู่ทองศึกษาลัย ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
ผู้พบ |
นางแถม เสือดำ |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 31 ตุลาคม 2564) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) วารสารศิลปากร ปีที่ 2 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2502) : 66-68. |
ประวัติ |
จารึกแผ่นทองแดงนี้พบโดย นางแถม เสือดำ ซึ่งได้ขุดพบในที่ดินของตน บริเวณเมืองเก่า ตรงข้ามกับโรงเรียนอู่ทองศึกษาลัย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมา นายเจริญ ผานุธิ อดีตหัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 2 ได้ติดต่อมายังนางแถม เสือดำ เพื่อขอให้นางแถม มอบจารึกหลักนี้แก่ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งนางแถมก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2500 เมื่อแรกพบนั้น จารึกแผ่นทองแดงนี้อยู่ในสภาพชำรุดหักออกเป็น 3 ท่อน จึงได้มีการซ่อมแซม และมีการอ่านข้อความที่จารึกอยู่ ในเบื้องต้นนั้น ศ. ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้อ่านและตีความตัวอักษรว่าเป็นแบบขอมโบราณ รุ่น พ.ศ. 1100 (ปัจจุบันตรงกับ กลุ่มอักษรปัลลวะ-หลังปัลลวะ) และตีพิมพ์ลงใน วารสารศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2502) แต่ต่อมา ศ. ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้มีการตีความใหม่ว่าเป็นอักษรอินเดียใต้ ลักษณะอักษรรุ่น พ.ศ. 1200-1400 เพื่อตีพิมพ์ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2508 ต่อมา หอสมุดแห่งชาติได้ชำระข้อมูลเกี่ยวกับการจัดลำดับวิวัฒนาการตัวอักษรใหม่ โดยได้แยกอักษรอินเดียใต้ รุ่น พ.ศ. 1100-1400 ออกเป็น 2 ประเภทคือ อักษรปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 11-12) และ อักษรหลังปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 13-14) ดังนั้น จึงได้มีการกำหนดรูปแบบอักษรของจารึกแผ่นทองแดงนี้ใหม่เป็น อักษรหลังปัลลวะ รุ่นพุทธศตวรรษที่ 13-14 และนำไปตีพิมพ์ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 เมื่อปี พ.ศ. 2529 แต่ในการจัดทำฐานข้อมูลฯ ครั้งนี้ คณะผู้จัดทำฐานข้อมูลฯ ได้แก้ไขในส่วนของการกำหนดอายุของจารึก เนื่องจากพบว่าในจารึกปรากฏชื่อของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง พระนามว่า ศรีหรรษวรมัน ซึ่งในจารึกระบุว่าพระองค์ทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าศรีอีศานวรมัน จึงสันนิษฐานได้ว่า จารึกแผ่นนี้อาจเป็นของพระเจ้าศรีหรรษวรมันที่ 1 ซึ่งครองราชย์ประมาณปี พ.ศ. 1453-1465 ถ้าพิจารณารูปอักษรประกอบด้วยแล้ว พบว่ามีอักษรบางตัว เช่น “ศ” และ “ต” ที่มีลักษณะแบบหลังปัลลวะที่ใกล้เคียงกับขอมโบราณรุ่นแรก ซึ่งก็เป็นไปได้ที่จะยังมีใช้กันในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 15 อย่างเช่นในกรณีของจารึกบ่ออีกาและจารึกโนนสัง ที่มีรูปอักษรแบบหลังปัลลวะเช่นกัน และมีอายุอยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 15 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึง พระเจ้าศรีหรรษวรมัน ผู้เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าศรีอีศานวรมัน ได้ทรงขึ้นครองราชย์ และได้ส่งเสลี่ยงที่ประดับด้วยเพชรพลอย และคณะดนตรีฟ้อนรำ ถวายแด่เทพเจ้า |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508) |