โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2567 10:46:44 )
ชื่อจารึก |
จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา 2 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา พุทธศตวรรษที่ 14, ขก. 17 |
อักษรที่มีในจารึก |
หลังปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 14 |
ภาษา |
มอญโบราณ |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 87 ซม. สูง 156 ซม. หนา 20 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ขก. 17” |
ปีที่พบจารึก |
เดือนมกราคม พ.ศ. 2527 |
สถานที่พบ |
วัดโนนศิลา บ้านฝายหิน ตำบลวังหินลาด (ข้อมูลเดิมว่า ตำบลหนองไผ่) อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น |
ผู้พบ |
นายสถาพร ขวัญยืน หัวหน้าโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กองโบราณคดี |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
อุโบสถ วัดโนนศิลา บ้านฝายหิน ตำบลวังหินลาด (ข้อมูลเดิมว่า ตำบลหนองไผ่) อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น (สำรวจ 25 มีนาคม 2559) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) วารสารศิลปากร ปีที่ 29 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน 2528) : 83-89. |
ประวัติ |
เมื่อปี พ.ศ. 2527 โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ได้ทำการสำรวจแหล่งโบราณคดีในเขตท้องที่บ้านฝายหิน ตำบลหนองไผ่ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และได้พบใบเสมากลุ่มหนึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดโนนศิลา ซึ่งในกลุ่มใบเสมาเหล่านี้ มีอยู่ 2 ใบ ที่มีจารึกอักษรหลังปัลลวะ จารึกหลักที่ 1 มี 1 ด้าน 5 บรรทัด ซึ่งต่อมาหอสมุดแห่งชาติกำหนดชื่อว่า “จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา 1 (ขก. 16)” ส่วนจารึกหลักที่ 2 มี 1 ด้าน 7 บรรทัด หอสมุดแห่งชาติกำหนดชื่อว่า “จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา 2 (ขก. 17)” จากข้อมูลในหนังสือจารึกในประเทศไทย เล่ม 2 ทำให้ทราบว่า คำจารึกของศิลาจารึกทั้ง 2 หลัก ได้ถูกถ่ายภาพไว้ แล้วคงส่งภาพถ่ายนี้ไปยังหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้อ่านและแปล แต่เนื่องจากเป็นการอ่านคำจารึกจากภาพถ่าย จึงยังมีความไม่แน่ใจในการแปลความนัก คำจารึกที่อ่านและแปลในครั้งนั้น ได้ถูกนำมาตีพิมพ์ในหนังสือจารึกในประเทศไทย เล่ม 2 เมื่อปี พ.ศ. 2529 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
พราหมณ์ผู้หนึ่งนามว่า มหายุต ได้ทำบุญอุทิศกุศลกรรมให้แก่บุคคล 2 คน |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
เทิม มีเต็ม ได้อธิบายว่า รูปอักษรบางตัว และคำจารึกบางคำ ที่ปรากฏบนจารึกทั้ง 2 หลักนี้ มีลักษณะคล้ายกันกับที่ปรากฏบนจารึกเสาแปดเหลี่ยม (ลพบุรี) (ลบ. 1) ซึ่งเป็นจารึกอักษรหลังปัลลวะ และใช้ภาษามอญในการจารึกเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงกำหนดได้ว่ารูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก |
ภาพประกอบ |
1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-07, KhK_007) |