จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา 1

จารึก

จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2566 15:31:11 )

ชื่อจารึก

จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา พุทธศตวรรษที่ 14, ขก. 16

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 14

ภาษา

มอญโบราณ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 75 ซม. สูง 118 ซม. หนา 56 ซม

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ขก. 16”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 29 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน 2528) กำหนดเป็น “จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา พุทธศตวรรษที่ 14”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 กำหนดเป็น “จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา 1”

ปีที่พบจารึก

เดือนมกราคม พ.ศ. 2527

สถานที่พบ

วัดโนนศิลา บ้านฝายหิน ตำบลวังหินลาด (ข้อมูลเดิมว่า ตำบลหนองไผ่) อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ผู้พบ

นายสถาพร ขวัญยืน หัวหน้าโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กองโบราณคดี

ปัจจุบันอยู่ที่

อุโบสถวัดโนนศิลา บ้านฝายหิน ตำบลวังหินลาด (ข้อมูลเดิมว่า ตำบลหนองไผ่) อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น (สำรวจ 25 มีนาคม 2559)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 29 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน 2528) : 83-89.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 67-72.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 98-101.

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2527 โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ได้ทำการสำรวจแหล่งโบราณคดีในเขตท้องที่บ้านฝายหิน ตำบลหนองไผ่ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และได้พบใบเสมากลุ่มหนึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดโนนศิลา ซึ่งในกลุ่มใบเสมาเหล่านี้ มีอยู่ 2 ใบ ที่มีจารึกอักษรหลังปัลลวะ จารึกหลักที่ 1 มี 1 ด้าน 5 บรรทัด ซึ่งต่อมาหอสมุดแห่งชาติกำหนดชื่อว่า “จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา 1 (ขก. 16)” ส่วนจารึกหลักที่ 2 มี 1 ด้าน 7 บรรทัด หอสมุดแห่งชาติกำหนดชื่อว่า “จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา 2 (ขก. 17)” จากข้อมูลในหนังสือจารึกในประเทศไทย เล่ม 2 ทำให้ทราบว่า คำจารึกของศิลาจารึกทั้ง 2 หลัก ได้ถูกถ่ายภาพไว้ แล้วคงส่งภาพถ่ายนี้ไปยังหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้อ่านและแปล แต่เนื่องจากเป็นการอ่านคำจารึกจากภาพถ่าย จึงยังมีความไม่แน่ใจในการแปลความนัก คำจารึกที่อ่านและแปลในครั้งนั้น ได้ถูกนำมาตีพิมพ์ในหนังสือจารึกในประเทศไทย เล่ม 2 เมื่อปี พ.ศ. 2529

เนื้อหาโดยสังเขป

กลุ่มบุคคลหนึ่งอันประกอบด้วย ระโว ทะระนาม และ สมุส ได้อุทิศบุญนี้ ให้แก่ กลุ่มบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วย ทะรง สุพาหุ และ มะรัง และ ขอให้การทำบุญในครั้งนี้ มีผลต่อๆ ไปจนถึงยุคของพระศรีอารยเมตไตรย์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

เทิม มีเต็ม ได้อธิบายว่า รูปอักษรบางตัว และคำจารึกบางคำ ที่ปรากฏบนจารึกทั้ง 2 หลักนี้ มีลักษณะคล้ายกันกับที่ปรากฏบนจารึกเสาแปดเหลี่ยม (ลพบุรี) (ลบ. 1) ซึ่งเป็นจารึกอักษรหลังปัลลวะ และใช้ภาษามอญในการจารึกเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงกำหนดได้ว่ารูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ และเทิม มีเต็ม, “จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา พุทธศตวรรษที่ 14,” ศิลปากร 29, 5 (พฤศจิกายน 2528) : 83-89.
2) เทิม มีเต็ม และจำปา เยื้องเจริญ, “จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา 1,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 : อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ 12-21 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 67-72.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-07, KhK_006)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 23-27 มีนาคม 2559
3) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566