จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 16 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 1970, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 20, ยุคสมัย-จารึกสมัยสุโขทัย, วัตถุ-จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูป, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูปปางประทานอภัย, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระธาตุช้างค้ำ น่าน, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-พระศรีอาริยเมตไตรย, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองน่าน, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองน่าน-สมเด็จเจ้าพระยาสารผาสุม, บุคคล-สมเด็จเจ้าพระยาสารผาสุม,

จารึกฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2567 11:23:02 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 15, จารึกฐานพระพุทธรูป องค์ที่ 3 วัดช้างค้ำ, จารึกฐานพระพุทธรูปวัดช้างค้ำ องค์ที่ 3 พุทธศักราช 1970, นน. 15 จารึกฐานพระพุทธรูป วัดช้างค้ำ องค์ที่ 3 พ.ศ. 1969

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1969, 1970

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

สัมฤทธิ์

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปปางประทานอภัย

ขนาดวัตถุ

ฐานยาว 36 ซม. กว้าง 37 ซม. สูง 7.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นน. 15”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 30 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม 2529) กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูป องค์ที่ 3 วัดช้างค้ำ”
3) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูปวัดช้างค้ำ องค์ที่ 3 พุทธศักราช 1970”
4) ในหนังสือ เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร”
5) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “นน. 15 จารึกฐานพระพุทธรูป วัดช้างค้ำ องค์ที่ 3 พ.ศ. 1969”

ปีที่พบจารึก

วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2523

สถานที่พบ

ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ผู้พบ

นายสุรศักดิ์ ศรีสำอาง

ปัจจุบันอยู่ที่

ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

พิมพ์เผยแพร่

1) งานเกี่ยวกับจารึก (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525), 54-56.
2) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 151-152.
3) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 30 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม 2529) : 22-29.
4) เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530), 254-255.
5) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 89.

ประวัติ

นายสุรศักดิ์ ศรีสำอาง ภัณฑารักษ์ 5 กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และนายเทิม มีเต็ม นักภาษาโบราณ 3 กองหอสมุดแห่งชาติ ร่วมกันทำการสำรวจศิลปโบราณวัตถุในเขตจังหวัดน่าน เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปโบราณวัตถุในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน นายสุรศักดิ์ ได้สำรวจพบพระพุทธรูปจำนวน 5 องค์ สร้างด้วยโลหะสำริด ศิลปสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปจำนวนดังกล่าวประดิษฐานอยู่ ณ สถานที่ต่างๆ กันดังนี้ 1) ณ วิหารวัดพญาภู จำนวน 2 องค์ พุทธลักษณะประทับยืน ปางลีลา ฐานพระพุทธรูปทั้ง 2 มีจารึกอักษรไทย สมัยสุโขทัย ภาษาไทย ฐานละ 5 บรรทัด 1 องค์ และฐานละ 4 บรรทัด 1 องค์ 2) ณ พระวิหารวัดช้างค้ำวรวิหาร จำนวน 2 องค์ พุทธลักษณะประทับยืน ปางยกพระหัตถ์ทั้งสอง 1 องค์ ฐานมีจารึกอักษรไทย สมัยสุโขทัย ภาษาไทย จำนวน 4 บรรทัด ส่วนอีก 1 องค์ พุทธลักษณะประทับยืน ปางลีลา ฐานไม่ปรากฏอักษรจารึก 3) ณ กุฏิเจ้าอาวาส วัดช้างค้ำวรวิหาร จำนวน 1 องค์ พุทธลักษณะประทับยืน ปางลีลา ฐานไม่ปรากฏอักษรจารึก

เนื้อหาโดยสังเขป

สมเด็จเจ้าพระยาสารผาสุม ผู้เสวยราชย์ในนันทปุร ได้สถาบกพระพุทธรูปจำนวน 5 องค์ เพื่อผดุงพระพุทธศาสนา

ผู้สร้าง

สมเด็จเจ้าพระยาสารผาสุม

การกำหนดอายุ

ในจารึกนี้ปรากฏศักราช 2 แบบคือ เกณฑ์ปี “จุลศักราช 788” และเกณฑ์ปี “มหาศักราช 1970” สำหรับเกณฑ์ปีมหาศักราช 1970 ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร และนายคงเดช ประพัฒน์ทอง นักโบราณคดี กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ทำการตรวจสอบหาข้อมูล ด้วยวิธีการคำนวณหาเกณฑ์ปีพุทธศักราช ตามแบบอย่างการนับเกณฑ์ปีพุทธศักราชของลังกา ด้วยวิธีเอาเกณฑ์เลขจำนวน 1182 บวกด้วย 788 (จุลศักราช) ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1970 จากวิธีดังกล่าวนี้ จึงมีความเห็นเป็นที่พ้องต้องกันว่า เกณฑ์ปีมหาศักราช 1970 ในจารึกนั้น คือเกณฑ์ปีพุทธศักราชที่ใช้ตามแบบอย่างคติลังกา อาจกล่าวได้ว่าจารึกฐานพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ นับเป็นจารึก 3 ชิ้นแรกเท่าที่พบ ได้ใช้ชื่อปีมหาศักราชแทนชื่อปีพุทธศักราช มีการกำหนดอายุเป็น 2 แบบ คือ (1) นายเทิม มีเต็ม กำหนดเป็น จ.ศ. 788 ตรงกับ พ.ศ. 1970 (เป็นการนับแบบลังกา ซึ่งมากกว่าแบบรัตนโกสินทร์อยู่ 1 ปี) (2) ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร กำหนดเป็น จ.ศ. 788 ตรงกับ พ.ศ. 1969 (วันที่ 29 มกราคม หรือ 5 หรือ 12 หรือ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1969 ตรงกับวันพุธ เดือน 4 ภาคกลาง

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) เทิม มีเต็ม, “จารึกฐานพระพุทธรูป วัดช้างค้ำ องค์ที่ 3 พุทธศักราช 1970,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 151-152.
2) เทิม มีเต็ม, “จารึกฐานพระพุทธรูป วัดพญาภู และวัดช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน,” ศิลปากร 30, 3 (กรกฎาคม 2529) : 22-29.
3) เทิม มีเต็ม, “ฐานพระพุทธรูป ฝาหีบพระธรรมและบานประตูที่พบในเมืองน่าน,” ใน เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530), 245-333.
4) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “นน. 15 จารึกฐานพระพุทธรูป วัดช้างค้ำ องค์ที่ 3 พ.ศ. 1969,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 89.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-30, ไฟล์; นน.15.รูป1)