อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 14, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนดินเผา, ลักษณะ-จารึกบนพระพิมพ์, ลักษณะ-จารึกบนพระพิมพ์ดินเผา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในสำนักหอสมุดแห่งชาติ, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, บุคคล-ปิณญะอุปัชฌายาจารย์,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 22:26:39 )
ชื่อจารึก |
จารึกหลังพระพิมพ์ดินเผาเมืองฟ้าแดดสูงยาง 1 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
กส. 1 จารึกพระพิมพ์ดินเผาเมืองฟ้าแดดสูงยาง 1, กส. 1 |
อักษรที่มีในจารึก |
หลังปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 14 |
ภาษา |
มอญโบราณ |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ดินเผา |
ลักษณะวัตถุ |
พระพิมพ์ดินเผา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 9 ซม. สูง 12 ซม. หนา 3.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กส. 1 จารึกพระพิมพ์ดินเผาเมืองฟ้าแดดสูงยาง 1” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2511 |
สถานที่พบ |
เมืองฟ้าแดดสูงยาง ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้พบ |
เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 85-89. |
ประวัติ |
ราวปี พ.ศ. 2511 เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้พบพระพิมพ์ดินเผา 2 องค์ ในบริเวณเมืองฟ้าแดดสูงยาง ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2511 นายกฤษณ์ อินทรโกสัย รองอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ได้ให้เจ้าหน้าที่กองโบราณคดีนำพระพิมพ์ทั้ง 2 องค์นี้ มอบให้นายประสาร บุญประคอง ผู้เชี่ยวชาญการอ่านจารึก แผนกหนังสือตัวเขียนและจารึก กองหอสมุดแห่งชาติ อ่านและแปล ซึ่งต่อมานายเทิม มีเต็ม และนายจำปา เยื้องเจริญ ได้อ่านและแปลจารึกทั้ง 2 ชิ้นนี้ แล้วนำไปตีพิมพ์ในหนังสือชุดจารึกในประเทศไทย เล่ม 2 ในปี พ.ศ. 2529 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เป็นข้อความสั้นๆ กล่าวแต่เพียงสังเขปว่า “พระพิมพ์องค์นี้ ปิณญะอุปัชฌายาจารย์ ผู้มีคุณเลื่องลือไกล” ซึ่งก็อาจแปลความได้ว่า พระพิมพ์องค์นี้ ท่านปิณญะอุปัชฌาจารย์ เกจิผู้มีชื่อเสียงได้สร้างขึ้นไว้สำหรับให้สาธุชนได้รับไปบูชา คติการจารึกชื่อผู้อุปถัมภ์ในการสร้างพระพิมพ์ พบได้ในพระพิมพ์ดินเผาที่เมืองศรีเทพด้วยเช่นกัน แต่ในกรณีนั้น เป็นชื่อของพระภิกษุชาวจีน ผู้มีนามว่า “เหวินเซียง” |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 โดย นายเทิม มีเต็ม ได้อธิบายว่า รูปแบบของตัวอักษรบางตัว เหมือนกับจารึกเสาแปดเหลี่ยม (ลพบุรี) (ลบ. 1) ซึ่งระบุปีไว้ราว พ.ศ. 1314 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายและภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529) |