อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, อายุ-จารึก พ.ศ. 2450, อายุ-จารึก พ.ศ. 2458, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 5, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 6, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อน, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกพระที่นั่งอนันตสมาคม กรุงเทพฯ, เรื่อง-การบันทึกประวัติศาสตร์, เรื่อง-การบันทึกประวัติศาสตร์-การสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 10:51:34 )
ชื่อจารึก |
จารึกบนหินอ่อนที่พระที่นั่งอนันตสมาคม 1 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินอ่อน สีน้ำตาล |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 320 ซม. สูง 100 ซม. หนา 5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 238 จารึกบนหินอ่อน” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
ขอบประตูชั้นบน ในพระที่อนันตสมาคมด้านทิศตะวันออก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ขอบประตูชั้นบน ในพระที่อนันตสมาคมด้านทิศตะวันออก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 119-120. |
ประวัติ |
จารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 238 จารึกบนหินอ่อน” |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงประวัติและที่มาของชื่อพระที่นั่งอนันตสมาคม คือ รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างขึ้นเนื่องจากพระที่นั่งต่างๆ ในวังสวนดุสิตไม่กว้างขวางพอที่จะประกอบพระราชพิธีต่างๆ จึงสร้างท้องพระโรงขึ้นใหม่แทนท้องพระโรงเดิมด้านทิศตะวันออกที่มีชื่อว่า “พระที่นั่งอนันตสมาคม” และโปรดให้ใช้ชื่อตามท้องพระโรงดังกล่าวซึ่งรัชกาลที่ 4 พระราชทานไว้ |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ถึงแม้ว่าในจารึกนี้ได้กล่าวถึงรัชกาลที่ 5 แต่ตามประวัติแล้วพระที่นั่งอนันตสมาคมเพิ่งสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 ดังนั้นจารึกอาจถูกสร้างขึ้นในภายหลังก็เป็นได้ |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521) |