โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 15:53:32 )
ชื่อจารึก |
จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี บนพระพิมพ์ 6 (ปุณโณสุนาปรันโต) |
อักษรที่มีในจารึก |
ปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 11-12 |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ดินเผา |
ลักษณะวัตถุ |
พระพิมพ์ (ปางสมาธิ) |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 6.5 ซม. สูง 4.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กำหนดเป็น “19/2513” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2513 |
สถานที่พบ |
เจดีย์หมายเลข 11 เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
ผู้พบ |
กรมศิลปากร |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
พิมพ์เผยแพร่ |
Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002) : 11-14. |
ประวัติ |
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ปีเตอร์ สกิลลิ่ง (Peter Skilling) และศานติ ภักดีคำ ได้เดินทางไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพิมพ์ จึงได้พบพระพิมพ์องค์นี้รวมถึงองค์อื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการอ่าน-แปล จึงได้ทำการอ่าน-แปลทั้งหมดลงในบทความชื่อ “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี” ตีพิมพ์ในวารสาร Fragile Palm Leaves เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงพระนามของพระปุณณสุนาปรันตะ ซึ่งเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวนอสีติมหาสาวก ชื่อเดิมว่า ปุณณะ เกิดที่เมืองท่าชื่อ สุปปารกะ ในแคว้นสุนาปรันตะ เมื่อเติบโตขึ้น ได้ประกอบการค้าขายร่วมกับน้องชาย โดยผลัดกันนำกองเกวียน 500 คัน เที่ยวค้าขายตามหัวเมืองต่างๆ ภายหลังจากได้พบพระพุทธเจ้า เกิดศรัทธาจึงออกบวช ยกสมบัติให้น้องชายทั้งหมด ได้บำเพ็ญจริยาเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนสืบมาจนถึงปรินิพพาน ณ แคว้นสุนาปรันตะนั้น |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากรูปอักษรปัลลวะซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002) |