จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี บนพระพิมพ์ 4 (โกลิวีโส)

จารึก

จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี บนพระพิมพ์ 4 (โกลิวีโส)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 18:19:29 )

ชื่อจารึก

จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี บนพระพิมพ์ 4 (โกลิวีโส)

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 11-12

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ดินเผา

ลักษณะวัตถุ

พระพิมพ์ (ปางสมาธิ)

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กำหนดเป็น “18/2513”
2) ในวารสาร Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2202) กำหนดเป็น “จารึกหลังพระพิมพ์พุทธสาวก 4”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2513

สถานที่พบ

เจดีย์หมายเลข 11 เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้พบ

กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

พิมพ์เผยแพร่

Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002) : 11-14.

ประวัติ

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ปีเตอร์ สกิลลิ่ง (Peter Skilling) และศานติ ภักดีคำ ได้เดินทางไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพิมพ์ จึงได้พบพระพิมพ์องค์นี้รวมถึงองค์อื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการอ่าน-แปล จึงได้ทำการอ่าน-แปลทั้งหมดลงในบทความชื่อ “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี” ตีพิมพ์ในวารสาร Fragile Palm Leaves เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงพระนามของพระโสโณ โกลิวีโส ซึ่งเป็นเอตทัคคะด้านความเพียรกล้า พระองค์เป็นบุตรของเศรษฐีแห่งเมืองจำปา มีรูปงาม ผิวพรรณดั่งทองจึงมีนามว่า โสณะซึ่งแปลว่าทองคำ ฝ่าเท้าทั้งสองมีสีแดงเหมือนดอกชบา และมีขนสีนิลขึ้นบนฝ่าเท้า วันหนึ่งได้ฟังได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าพร้อมกับพราหมณ์ผู้นำ 8 ตำบล พราหมณ์เหล่านั้น ได้เห็นอิทธิฤทธิ์ของพระสาคตะ สาวกของพระพุทธเจ้า ก็รู้สึกอัศจรรย์ใจมาก โดยเฉพาะโสณะ เมื่อพวกพราหมณ์กลับไปแล้วจึงขอบวช เป็นสาวกในสำนักของพระพุทธองค์เพื่อบรรลุมรรคผล แต่แม้จะพยายามเท่าใดก็ไม่สำเร็จ วันหนึ่ง ท่านนั่งสมาธิ และเดินจงกรมจนเท้าทั้งสองมีเลือดออก พระพุทธเจ้าจึงประทานโอวาท โดยอุปมาอุปไมยด้วยพิณสามสายว่า การบำเพ็ญเพียรนั้นก็เหมือนการดีดพิณ หากขึงสายพิณตึงหรือหย่อนเกินไป เสียงก็ไม่ไพเราะ เช่นเดียวกับความเพียรพยาม หากมากหรือน้อยเกินไปก็ไม่ดี ควรทำแต่พอเหมาะ พระเถระจึงปฏิบัติตาม ต่อมาไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากรูปอักษรปัลลวะซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-12

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ปีเตอร์ สกิลลิ่ง และศานติ ภักดีคำ, “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง,” Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002) : 11-14.
2) เสฐียรพงษ์ วรรณปก, “พระโสณะโกฬิวิสะเถระ…พระผู้มีความเพียรกล้า,” ใน พุทธสาวก พุทธสาวิกา : ประมวลประวัติพระเถระพระเถรี สมัยพุทธกาล (กรุงเทพฯ : สถาบันบันลือธรรมและธรรมสภา, 2544), 67-70.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002)