โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 18:18:23 )
ชื่อจารึก |
จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี บนพระพิมพ์ 3 |
อักษรที่มีในจารึก |
ปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 11-12 |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ดินเผา |
ลักษณะวัตถุ |
พระพิมพ์ (ปางสมาธิ) |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กำหนดเป็น “65/2506” |
ปีที่พบจารึก |
ระหว่างการขุดแต่งโบราณสถานในวันที่ 5 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน พ.ศ. 2506 |
สถานที่พบ |
เจดีย์หมายเลข 11 เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
ผู้พบ |
นายสมศักดิ์ รัตนกุล (ผู้ควบคุมการสำรวจและขุดแต่งโบราณสถาน) |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (พระนคร : ศิวพร, 2509), 16-17. |
ประวัติ |
พระพิมพ์องค์นี้ถูกพบในการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข 11 ในเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยกรมศิลปากร ในระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน พ.ศ. 2506 นอกจากนี้ยังมีการพบโบราณวัตถุอื่นๆ ในบริเวณเจดีย์ดังกล่าว ได้แก่ พระพุทธรูปสำริดปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ 4 องค์ เสาหินแปดเหลี่ยม และแท่นหินสี่เหลี่ยมจำหลักลวดลาย โดยทั้งหมดถูกกล่าวถึงใน รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี ซึ่งตีพิมพ์เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 โดยในรายงานดังกล่าวมีการอ่าน-แปลจารึกที่ปรากฏด้านหลังพระพิมพ์องค์นี้ด้วย ต่อมาในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ปีเตอร์ สกิลลิ่ง (Peter Skilling) และศานติ ภักดีคำ ได้เดินทางไปที่พิพิธภัณฑ์ฯ ดังกล่าวเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพิมพ์ จึงได้พบพระพิมพ์องค์นี้รวมถึงองค์อื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการอ่าน-แปล จึงได้ทำการอ่าน-แปลทั้งหมดลงในบทความชื่อ “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี” ตีพิมพ์ในวารสาร Fragile Palm Leaves เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงพระนามของพุทธสาวกองค์ใดองค์หนึ่งระหว่าง พระมหากัสสปะ หรือ มหากัจจายนะ พระมหากัสสปะ เป็นบุตรกบิลพราหมณ์แห่งมหาติตถคาม แคว้นมคธ เดิมชื่อปิปผลิมาณพ สมรสกับนางภัททกาปิลานี โดยการจัดการของผู้ใหญ่ ทั้งสองไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกันในโลกียวิสัย เมื่อบิดามารดาเสียชีวิตหมดแล้ว จึงแยกกันไปออกบวช โดยนางภัททาปิลานีไปบวชเป็นภิกษุนี ส่วนปิปผลิมาณพได้ฟังโอวาทจากพระพุทธเจ้า 3 ประการ หลังจากอุปสมบทแล้ว 7 วัน ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระมหากัสสปะเถระทรงเป็นผู้มีบทบาท ในเรื่องของการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งแรก โดยเป็นผู้คัดเลือกพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญาจำนวน 500 รูป สังคายนาพระธรรมวินัยให้เป็นแบบฉบับ และถ่ายทอดสืบมาโดยการท่องจำ พระมหากัสสปะเป็นผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร และเป็นเอตทัคคะด้านมีวาทะขัดเกลา (ธูตวาทะ) ส่วนพระมหากัจจายนะนั้น เป็นบุตรของปุโรหิตเมืองอุชเชนี เป็นคนรูปงาม ศึกษาเล่าเรียนจนจบไตรเพทตั้งแต่ยังหนุ่ม เมื่อได้ฟังธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะด้านการขยายความ เนื่องจากทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสโดยย่อให้พระสมิทธิฟังอย่างละเอียด พระสมิทธิมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง พระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญว่า ถ้าให้ตถาคตแสดง ก็จะแสดงเช่นเดียวกับกัจจายนะ จึงได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะด้านดังกล่าว |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากรูปอักษรปัลลวะซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002) |