อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12-13, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรศรีวิชัย, วัตถุ-จารึกบนดินเผา, ลักษณะ-จารึกบนพระพิมพ์, ลักษณะ-จารึกบนพระพิมพ์ดินเผา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-เย ธมฺมาฯ,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 23:28:22 )
ชื่อจารึก |
จารึกเยธมฺมาฯ บนพระซุ้มศรีวิชัย 2 |
อักษรที่มีในจารึก |
ปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 12-13 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ดินเผา |
ลักษณะวัตถุ |
พระพิมพ์ดินเผา |
ขนาดวัตถุ |
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2525 |
สถานที่พบ |
บริเวณวัดเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
พิมพ์เผยแพร่ |
วารสารศิลปากร ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2536) : 85-100. |
ประวัติ |
จารึกนี้เป็นคาถาที่จารึกอยู่รอบองค์พระซุ้มศรีวิชัย ซึ่งเป็นพระพิมพ์ดินเผา เนื้อแกร่งแน่น มีสัณฐานทรงกลมครึ่งซีก ซึ่งวงการนักเลงพระหรือวงการพระเครื่องเรียกกันติดปากว่า “พระเม็ดกระดุมศรีวิชัย” เพราะมีรูปร่างกลมหลังอูมนูนคล้ายเม็ดกระดุม ด้านหน้ารอบองค์พระยกขอบขึ้นมาคล้ายยกซุ้ม ต่ำลงมาจากขอบที่ยกขึ้นมาเล็กน้อย ปรากฏเป็นองค์พระ รอบองค์พระมีจารึก เย ธมฺมา ซ้อนกัน 2 ชั้น ทั้งด้านซ้ายขวา เหนือพระเศียรมีเส้นประภามณฑล องค์พระประทับนั่งในปางสมาธิลอยนูนขึ้นมาจากพื้น องค์นี้เป็นพิมพ์ชลูด เนื่องจากลักษณะองค์พระชลูดกว่าพิมพ์ต้อ มีไรพระศกเป็นติ่งกลม ลักษณะอื่นๆ คล้ายคลึงกับพระพิมพ์ต้อ เป็นศิลปะที่ผสมผสานระหว่างศิลปะทวารวดีกับศรีวิชัย อายุสมัยคงสร้างในยุคเดียวกัน เพราะพบจากกรุพร้อมกัน ลักษณะความเก่าแก่ของมวลสารไม่แตกต่างกัน ลักษณะของพระพิมพ์ชลูดนี้คล้ายคลึงกับพระพุทธรูปศิลาทรายแถบที่พระระเบียงพระธาตุไชยา ซึ่งเป็นศิลปะศรีวิชัยผสมอู่ทองตอนปลาย พระซุ้มศรีวิชัยนี้ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2525 ที่เนินจอมปลวกบริเวณบ้านนางอารีย์ เรืองเจริญ ซึ่งในอดีตที่ดินแห่งนี้เป็นบริเวณวัดเขาศรีวิชัย ตำบลเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี คราวนั้นได้พระมาประมาณ 100 องค์เศษ ต่อมาในเดือนธันวาคม 2533 ได้มีชาวบ้านขุดพบพระพิมพ์นี้ในบริเวณวัดเขาศรีวิชัยอีก ได้ประมาณ 2,000 องค์เศษ พระกรุนี้ได้แพร่กระจายเข้าสู่ตลาดพระในจังหวัดอื่นๆ เช่น นครศรีธรรมราช, ภูเก็ต, สงขลา, หาดใหญ่, ชุมพร, สุพรรณบุรี และกรุงเทพฯ อย่างรวดเร็ว เป็นที่นิยมเชื่อถือในพระพุทธคุณกันมาจนทุกวันนี้ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เป็นคาถาว่าด้วยเหตุเกิดและทางดับทุกข์ทั้งหลาย |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุตามรูปแบบของอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2536) |