จารึกเยธมฺมาฯ บนพระสถูปดินเผาเมืองยะรัง

จารึก

จารึกเยธมฺมาฯ บนพระสถูปดินเผาเมืองยะรัง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 23:52:09 )

ชื่อจารึก

จารึกเยธมฺมาฯ บนพระสถูปดินเผาเมืองยะรัง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกเมืองยะรัง (สถูปดินเผา), จารึก เย ธมฺมาฯ (สถูปดินเผา), ปน. 1/6

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 2 บรรทัด คือ แต่ละด้านมี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ดิน

ลักษณะวัตถุ

พระสถูปดินเผา

ขนาดวัตถุ

เส้นผ่าศูนย์กลางฐาน 7.5 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางยอด 2.4 ซม. สูง 11.7 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 33 ฉบับที่ 6 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2533) เรียกว่า “จารึกเมืองยะรัง (สถูปดินเผา)”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 36 ฉบับที่ 5 (กันยายน-ตุลาคม 2536) เรียกว่า “จารึก เย ธมฺมาฯ (สถูปดินเผา)”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่มที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2559) เรียก "ปน. 1/6"

ปีที่พบจารึก

14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532

สถานที่พบ

โบราณสถานเมืองยะรัง ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ผู้พบ

หน่วยศิลปากรที่ 9

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 33 ฉบับที่ 6 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2533) : 35-50.
2) วารสารศิลปากร ปีที่ 36 ฉบับที่ 5 (กันยายน-ตุลาคม 2536) : 65-87.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 236-249.

ประวัติ

พระพิมพ์องค์นี้เป็นโบราณวัตถุหนึ่งในหลายๆ ชิ้นที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานเมืองยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมื่อราว พ.ศ. 2532 ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ได้ทำการศึกษาโบราณวัตถุที่มีจารึกปรากฏอยู่ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 9 ชิ้น เป็นพระพิมพ์ดินดิบ 3 ชิ้น เป็นพระสถูปพิมพ์ดินดิบ 5 ชิ้น และ เป็นพระสถูปดินเผา 1 ชิ้น โดยตีพิมพ์ในวารสารศิลปากร ปีที่ 33 ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2533) ต่อมา ชะเอม แก้วคล้าย ได้เขียนบทความเรื่อง “จารึก เย ธมฺมาฯ” และได้กล่าวถึงจารึกกลุ่มที่พบที่เมืองยะรังนี้ด้วยเช่นกัน สถูปดินเผา ลักษณะเป็นสถูปลอยตัว มีอักษรจารึกรอบฐานด้านนอกจำนวน 1 บรรทัด และที่รอบขอบฐานด้านใน มีอักษรจารึกเขียนด้วยสีแดงจากซ้ายไปขวา จำนวน 1 บรรทัดเช่นเดียวกัน แต่ที่ด้านในเส้นอักษรมีขนาดใหญ่เล็กไม่สม่ำเสมอกันและลบเลือนมาก จารึกทั้ง 2 ด้านมีข้อความเหมือนกัน

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นคาถาว่าด้วยเหตุเกิดและทางดับทุกข์ทั้งหลาย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

พุทธศตวรรษที่ 12 โดยกำหนดอายุจากรูปแบบของอักษรปัลลวะ

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “วิเคราะห์จารึกเมืองยะรัง,” ศิลปากร 33, 6 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2533) : 35-50.
2) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึก เย ธมฺมาฯ,” ศิลปากร 36, 5 (กันยายน-ตุลาคม 2536) : 65-87.
3) ชะเอม แก้วคล้าย, "จารึกในประเทศไทย เล่ม 1," พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 236-249.

ภาพประกอบ

ภาพคัดจำลองอักษรจารึก : วารสารศิลปากร ปีที่ 36 ฉบับที่ 5 (กันยายน-ตุลาคม 2536)