จารึกเยธมฺมาฯ บนพระสถูปพิมพ์ดินดิบเมืองยะรัง (แบบมีรูปสถูป 3 องค์) ชิ้นที่ 3

จารึก

จารึกเยธมฺมาฯ บนพระสถูปพิมพ์ดินดิบเมืองยะรัง (แบบมีรูปสถูป 3 องค์) ชิ้นที่ 3

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2567 00:21:19 )

ชื่อจารึก

จารึกเยธมฺมาฯ บนพระสถูปพิมพ์ดินดิบเมืองยะรัง (แบบมีรูปสถูป 3 องค์) ชิ้นที่ 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกเมืองยะรัง (พระสถูปพิมพ์ดินดิบแบบมีรูปสถูป 3 องค์ ชิ้นที่ 3), จารึก เย ธมฺมาฯ (พระสถูปพิมพ์ดินดิบแบบมีรูปสถูป 3 องค์ ชิ้นที่ 3), ปน. 1/5

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

ดิน

ลักษณะวัตถุ

พระสถูปพิมพ์ดินดิบ

ขนาดวัตถุ

สูง 4.2 ซม. กว้าง 3.3 ซม. หนา 1.2 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 33 ฉบับที่ 6 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2533) เรียกว่า “จารึกเมืองยะรัง (พระสถูปพิมพ์ดินดิบแบบมีรูปสถูป 3 องค์ ชิ้นที่ 3)”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 36 ฉบับที่ 5 (กันยายน-กุมภาพันธ์ 2536) เรียกว่า “จารึก เย ธมฺมาฯ (พระสถูปพิมพ์ดินดิบแบบมีรูปสถูป 3 องค์ ชิ้นที่ 3)”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่มที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2559) เรียก "ปน. 1/5"

ปีที่พบจารึก

14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532

สถานที่พบ

โบราณสถานเมืองยะรัง ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ผู้พบ

หน่วยศิลปากรที่ 9

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 33 ฉบับที่ 6 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2533) : 35-50.
2) วารสารศิลปากร ปีที่ 36 ฉบับที่ 5 (กันยายน-ตุลาคม 2536) : 65-87.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 236-249.

ประวัติ

พระพิมพ์องค์นี้เป็นโบราณวัตถุหนึ่งในหลายๆ ชิ้นที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานเมืองยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมื่อราว พ.ศ. 2532 ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ได้ทำการศึกษาโบราณวัตถุที่มีจารึกปรากฏอยู่ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 9 ชิ้น เป็นพระพิมพ์ดินดิบ 3 ชิ้น เป็นพระสถูปพิมพ์ดินดิบ 5 ชิ้น และ เป็นพระสถูปดินเผา 1 ชิ้น โดยตีพิมพ์ในวารสารศิลปากร ปีที่ 33 ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2533) ต่อมา ชะเอม แก้วคล้าย ได้เขียนบทความเรื่อง “จารึก เย ธมฺมาฯ” และได้กล่าวถึงจารึกกลุ่มที่พบที่เมืองยะรังนี้ด้วยเช่นกัน พระพิมพ์นี้ ทำด้วยดินดิบ ลักษณะเป็นรูปพระสถูปพิมพ์ที่พิมพ์จากแม่แบบเดียวกัน มีรูปสถูปเรียงแถวกัน 3 องค์ ตั้งเรียงอยู่บนขอบเส้นแบ่งภาพ มีอักษรจารึกอยู่ตอนล่างจำนวน 2 บรรทัด อักษรจารึกลบเลือนมาก อ่านไม่ได้ แต่เมื่อพิจารณารูปแบบของพระสถูปพิมพ์ดินดิบแล้ว เห็นได้ว่าคำจารึกน่าจะเหมือนกับ 2 ชิ้นแรก พระพิมพ์ดินดิบนั้น นิยมสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของพระสงฆ์เถระผู้เป็นครูอาจารย์เมื่อมรณภาพ และเผาศพแล้วก็นำอัฐิธาตุมาโขลกเคล้ากับดินพิมพ์พระพุทธรูปหรือรูปสถูปไว้ การสร้างพระพิมพ์ดินดิบเช่นนี้ มีความประสงค์เพียงเพื่อปฏิบัติประโยชน์อันเป็นหนทางบุญให้แก่ผู้มรณภาพเท่านั้น มิได้สร้างขึ้นเพื่อการสืบอายุพระพุทธศาสนา

เนื้อหาโดยสังเขป

จารึกบนพระพิมพ์นี้ อักษรจารึกลบเลือนมาก อ่านไม่ได้ แต่เมื่อพิจารณารูปแบบของพระสถูปพิมพ์ดินดิบแล้ว เห็นได้ว่าคำจารึกน่าจะเหมือนกับ 2 ชิ้นแรก ที่มีต้นประโยคชำรุดเล็กน้อย คำสมบูรณ์คงเป็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั่นคือ พระอริยสัจ 4 นั่นเอง พระอริยสัจ 4 นี้ ในภาคกลางของประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งอยู่ภายใต้วัฒนธรรมทวารวดี ก็นิยมจารึกคำพรรณนาถึงพระอริยสัจ 4 ไว้บนพระธรรมจักรด้วย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

พุทธศตวรรษที่ 12 โดยกำหนดอายุจากรูปแบบของอักษรปัลลวะ

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “วิเคราะห์จารึกเมืองยะรัง,” ศิลปากร 33, 6 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2533) : 35-50.
2) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึก เย ธมฺมาฯ,” ศิลปากร 36, 5 (กันยายน-ตุลาคม 2536) : 65-87.
3) ชะเอม แก้วคล้าย, "จารึกในประเทศไทย เล่ม 1," พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 236-249.

ภาพประกอบ

ภาพคัดจำลองอักษรจารึก : วารสารศิลปากร ปีที่ 36 ฉบับที่ 5 (กันยายน-ตุลาคม 2536)