อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 11, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 11-12, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรศรีวิชัย, วัตถุ-จารึกบนทองคำ, ลักษณะ-จารึกบนตราประทับ, ลักษณะ-จารึกบนตราประทับทรงกลม, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2567 14:10:29 )
ชื่อจารึก |
จารึกบนตราประทับจากควนลูกปัด 4 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ตราประทับทองคำรูปกลม, Inscription no. 6, Inscribed Gold Seal from Khuan Lukpat |
อักษรที่มีในจารึก |
ปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 11-12 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ทองคำ |
ลักษณะวัตถุ |
ตราประทับกลม |
ขนาดวัตถุ |
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
ในวารสาร SPAFA Digest vol. VII, no. 1 (1986) กำหนดเป็น “Inscription no. 6” และ “Inscribed Gold Seal from Khuan Lukpat” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
บ้านควนลูกปัด ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) SPAFA Digest vol. VII no. 1 (1986) : 7-21. |
ประวัติ |
จารึกในจังหวัดกระบี่ ค้นพบที่แหล่งชุมชนโบราณคดีควนลูกปัดซึ่งเป็นแหล่งชุมชนโบราณคอลองท่อม ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ได้พบอักษรจารึกในตราประทับซึ่งได้สำรวจพบและเอกชนครอบครองอยู่ บางชิ้นอยู่ที่วัดคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เป็นจารึกบนแผ่นประทับตราอินเดียใต้ ภาษาสันสกฤต อักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-12 ในจารึกตราประทับนั้นมีรูปลักษณะของเส้นอักษรและคำอ่าน-แปล ซึ่งมีผู้บันทึกไว้เป็นหลักฐานในหนังสือสารานุกรมภาคใต้ เล่มที่ 3 หน้า 1202-1206 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เป็นตราประทับเพื่อกิจใดกิจหนึ่ง โดยจารึกไว้ว่า “สรุธรฺมฺมสฺย” อาจแปลได้ 3 แบบคือ (1) “แห่งธรรมอันดีแล้ว” (2) “แห่งธรรมอันประณีต หรือ อันเปรียบมิได้” หรือ (3) เป็นของ (บุคคลชื่อ) สรุธรรม ตราประทับรุ่นแรกๆ ที่พบทางภาคใต้นี้ ศ. ดร. ผาสุข อินทราวุธ ได้อธิบายไว้ว่า การใช้ตราประทับเป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสารในระดับสถาบันต่างๆ ในสมัยทวารวดีก็เช่นเดียวกับการใช้ระบบเหรียญกษาปณ์ คือ ชาวอินเดียในสมัยอินโด-โรมัน (พุทธศตวรรษที่ 6-9) ได้นำตราประทับของอินเดีย (แบบที่ชาวกรีก-ชาวโรมัน และชาวเปอร์เซียนิยมใช้) มาใช้เป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสารกับประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อน ดังได้พบตราประทับของอินเดียและของโรมัน ในบริเวณเมืองท่าโบราณ เช่น คลองท่อม จังหวัดกระบี่ (ภาคใต้ของไทย) เมืองออกแก้ว (เวียดนามตอนใต้) และต่อมาในสมัยคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9-11) ชาวอินเดียก็ได้นำตราประทับของอินเดียมาใช้ในดินแดนแถบนี้ ดังได้พบตราประทับของอินเดียจำนวนหลายชิ้น ในบริเวณเมืองโบราณสมัยทวารวดีหลายแห่ง เช่น เมืองนครโบราณ เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) เมืองคูบัว (ราชบุรี) เมืองพรหมทิน เมืองซับจำปา จังหวัดลพบุรี และเมืองจันเสน (นครสวรรค์) และในช่วงต่อมาได้มีการผลิตตราประทับขึ้นใช้เองโดยผู้นำชาวท้องถิ่น อาจสรุปได้ว่าชาวอินเดียได้นำตราประทับที่เคยใช้ในประเทศของตน มาใช้ในการติดต่อสื่อสารกับประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประชากรชาวทวารวดี และต่อมาได้มีการผลิตตราประทับขึ้นใช้โดยผู้นำชาวพื้นเมืองเอง เพื่อใช้ในกิจการด้านการเมือง การศาสนา การค้าและอื่นๆ ดังปรากฏว่าสัญลักษณ์ที่ใช้บนตราประทับนั้นสื่อความหมายหลายด้าน |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุโดยพิจารณาจากลักษณะรูปแบบอักษรปัลลวะในจารึก ซึ่งมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับตัวอักษรปัลลวะที่พบในจารึกศิวสกันทวรมัน คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : SPAFA Digest VII, 1 (1986) |