อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรเจนละ, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรเจนละ-พระเจ้ามเหนทรวรมัน, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย, เรื่อง-การสร้างรูปเคารพ, เรื่อง-การสร้างศิวลึงค์, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรเจนละ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรเจนละ-พระเจ้ามเหนทรวรมัน, บุคคล-พระเจ้าจิตรเสน, บุคคล-พระเจ้ามเหนทรวรมัน,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2567 14:57:38 )
ชื่อจารึก |
จารึกถ้ำภูหมาไน |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
Les inscriptions de Thăm Prasat (Phu Ma Năi), L’inscription de Thăm Prasat ou Thàm Phu Má Năi, L’inscription de Thăm Prasat, Les inscription de Thăm Prasat ou Ph‘u Ma Năi (K. 508-K. 509), จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. 9), จารึกถ้ำภูหมาไน (ถ้ำปราสาท), อบ.9, K.508, K.509 |
อักษรที่มีในจารึก |
ปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 12 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานรูปเคารพ |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 55 ซม. สูง 101 ซม. หนา 11 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อบ. 9” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
ถ้ำปราสาท (หรือ ถ้ำภูหมาไน) ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (สำรวจข้อมูล 4 มกราคม 2563) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient, Tome XXII (1922) : 57-60, pl. II. |
ประวัติ |
จารึกถ้ำภูหมาไน เป็นจารึกบนฐานรูปเคารพ พบที่ถ้ำปราสาท หรือ อีกชื่อคือถ้ำภูหมาไน นอกจากนั้นถ้ำแห่งนี้ยังพบจารึกทรงใบเสมาอีกชิ้นหนึ่ง ดังนั้น ในระยะแรกจึงเรียกจารึกทั้ง 2 หลักนี้รวมกันไปว่า “จารึกถ้ำปราสาท” หรือ “จารึกถ้ำภูหมาไน” ต่อมาทางสำนักฝรั่งเศสปลายบูรพาทิศ (EFEO) ได้กำหนดรหัสจารึกให้กับจารึกทรงใบเสมาเป็น “K. 508” และ จารึกที่ฐานรูปเคารพเป็น “K. 509” ต่อมาหอสมุดแห่งชาติจึงเรียกจารึก “K. 508” ว่า จารึกวัดสุปัฏนาราม 1 (อบ. 4) และเรียกจารึก “K. 509” ว่า จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. 9) |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความในจารึกกล่าวถึงพระเจ้าจิตรเสน กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทรงได้ชัยชนะเหนือกัมพูประเทศ และได้เฉลิมพระนามว่า “ศรีมเหนทรวรมัน” อีกทั้งโปรดให้สร้างรูปเคารพต่างๆ ในลัทธิไศวนิกายไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ ซึ่งในจารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. 9) นี้ เป็นการสร้างพระโค ซึ่งน่าจะหมายถึง “โคนนทิ” พาหนะของพระศิวะนั่นเอง ดังนั้น จากจารึกทั้ง 7 หลักนี้ จึงเป็นหลักฐานอย่างดีว่า อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำชี และลุ่มแม่น้ำมูลในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-12 นั้น มีผู้นำของอาณาจักรนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย “จิตรเสน” เป็นพระนามของเจ้าชายผู้ทรงเป็นพระญาติกับพระเจ้าภววรมันที่ 1 (พ.ศ. 1141-1150) กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ ต่อมาเจ้าชายจิตรเสนได้ครองราชสมบัติ ฉลองพระนามเป็น พระเจ้ามเหนทรวรมัน (ราว พ.ศ. 1150-1159) |
ผู้สร้าง |
ศรีมเหนทรวรมัน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุตามรูปแบบของตัวอักษรปัลลวะ ได้อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 นอกจากนี้ เนื้อความยังกล่าวถึงรัชสมัยของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน ซึ่งครองราชย์อยู่ราว พ.ศ. 1150-1159 ดังนั้น จึงอาจกำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 12 ก็ได้เช่นกัน |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-08, ไฟล์; OB_002) |