จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกเจ้าเถรศรีเทพคิริมานนท์ 1

จารึก

จารึกเจ้าเถรศรีเทพคิริมานนท์ 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2566 21:08:16 )

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าเถรศรีเทพคิริมานนท์ 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกอักษรไทย ภาษาไทย บนลานเงิน แผ่นที่ 2 พ.ศ. 1956, หลักที่ 50 จารึกลานเงิน อักษรและภาษาไทย, ชน. 5

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 1956

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 7 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 5 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

เงิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชน. 5”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 (มกราคม 2503) กำหนดเป็น “จารึกอักษรไทย ภาษาไทย บนลานเงิน แผ่นที่ 2 พ.ศ. 1956”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 50 จารึกลานเงิน อักษรและภาษาไทย”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกเจ้าเถรศรีเทพคิริมานนท์ 1”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2495

สถานที่พบ

พระเจดีย์วัดส่องคบ ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

ผู้พบ

พระครูบริรักษ์บรมธาตุ

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 (มกราคม 2503) : 52-53.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 89.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 173-174.

ประวัติ

จารึกแผ่นนี้ถูกพบในบริเวณพระเจดีย์วัดส่องคบ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท โดย พระครูบริรักษ์บรมธาตุ กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรับไว้เมื่อ พ.ศ. 2495 โดยมีการพิมพ์เผยแพร่คำอ่านแปลครั้งแรกในวารสารศิลปากร ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2503 ชื่อบทความ “คำจารึกอักษรไทย ภาษาไทย บนลานเงินแผ่นที่ 2” และตีพิมพ์อีกครั้งใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ใน พ.ศ. 2508 ต่อมาใน พ.ศ. 2529 ตีพิมพ์ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 ซึ่งเรียกจารึกดังกล่าวว่า “จารึกเจ้าเถรศรีเทพคิริมานนท์ 1” โดยทั้ง 3 ครั้งมี ฉ่ำ ทองวรรณ เป็นผู้อ่าน

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 1956 เจ้าเถรศรีเทพคิริมานนท์ และครอบครัว ได้บรรจุพระธาตุ และถวายสิ่งของมีค่าต่างๆ รวมถึงผู้คนแก่วัด

ผู้สร้าง

เจ้าเถรศรีเทพคิริมานนท์

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏบนจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ว่า “แต่พระเป็นเจ้าเข้าแก่นิพพานไซร้ได้ 1956 เข้า” ก็คือ พ.ศ. 1956 ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1952-1967)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำจารึกอักษรไทย ภาษาไทย บนลานเงินแผ่นที่ 2-3 พ.ศ. 1956 (ตรงในรัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช) พบที่เจดีย์วัดส่องคบ จังหวัดชัยนาท,” ศิลปากร 3, 6 (มกราคม 2503) : 52-53.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกเจ้าเถรศรีเทพคิริมานนท์ 1,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรม และ อักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 173-174.
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 50 จารึกลานเงินอักษร และภาษาไทย,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 89.