จารึกแผ่นทองคำจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ 3

จารึก

จารึกแผ่นทองคำจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ 3

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 13:21:53 )

ชื่อจารึก

จารึกแผ่นทองคำจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกเลขที่ ข 60 (15), จารึกแผ่นทองคำจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ 3, อย. 41

อักษรที่มีในจารึก

ขอมอยุธยา

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 5 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 4 บรรทัด ตามความยาวของแผ่นจารึก 2 บรรทัด ตามความกว้าง 2 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ทองคำ พื้นผิวมีภาพบุรูปพระพุทธรูปปรกโพธิ ประทับนั่งสมาธิราบปางมารวิชัยเหนือปัทมาสน์ เรียงลำดับขนาดเสมอกันแถวเดียวแบ่งออก 2 ตอนๆ ละ 3 องค์ หันหน้ากลับกัน ในตอนหนึ่งบุภาพพระพุทธรูปหันหน้าขึ้น ส่วนอีกตอนหนึ่งหันหน้าภาพลง

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่สุดด้านขวาซ้ายทำเป็นรูปโค้งมน

ขนาดวัตถุ

กว้าง 6.2 ซม. ยาว 29.2 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 41”
2) กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำหนดเป็น “จารึกเลขที่ ข 60 (15)”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกแผ่นทองคำจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ 3”
4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา กำหนดเป็น "1568/3", "751/2543", "ข.60(15)"

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2500

สถานที่พบ

กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจเมื่อ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 (กันยายน 2528) : 43-51.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 103-105.

ประวัติ

จารึกแผ่นทองคำจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ส่วนที่จัดไว้ในกลุ่มนี้มี 3 แผ่น จารึกด้วยอักษรขอมอยุธยา ภาษาไทย ข้อความในจารึกบอกชื่อตัว และนามบรรดาศักดิ์ สันนิษฐานว่า คงจะเป็นชื่อและนามของผู้สร้างแผ่นทองคำถวายไว้กับพระพุทธศาสนา เพื่อบรรจุไว้ในกรุกลางองค์ปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะนั้นเอง

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความในจารึกด้านที่ 1 บอกนามผู้สร้างแผ่นทองคำนี้คือ ขุนศรีจูฬา ให้นามแก่บุคคลผู้หนึ่งคือ นายศรีกัณฐ ส่วนด้านที่ 2 บอกนามบุคคลคือ ขุนศรีรัตปัทราช

ผู้สร้าง

ขุนศรีจูฬา

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดให้เป็น จารึกอักษรขอมอยุธยา อายุพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “จารึกแผ่นทองคำจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา,” ศิลปากร 29, 4 (กันยายน 2528) : 43-51.
2) ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “จารึกแผ่นทองคำจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ 3,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 103-105.

ภาพประกอบ

ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)