อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 20, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา, วัตถุ-จารึกบนทองคำ, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างแผ่นทองคำ, บุคคล-ศรีจันทรภานุชัยวรรทธโหราธิบดี, บุคคล-กมรเตงธรรมาภินันทนาม,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2567 12:39:41 )
ชื่อจารึก |
จารึกแผ่นทองคำจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ 1 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
จารึกเลขที่ พ. 4, อย. 39 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมอยุธยา |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 20 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด ตามความยาวของแผ่นจารึก 2 บรรทัด ตามความกว้างของแผ่นจารึก 2 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ทองคำพื้นผิวเรียบ |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่สุดด้านขวา-ซ้าย ทำเป็นรูปโค้งปลายแหลมเหมือนกลีบบัว |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 5.6 ซม. ยาว 26.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 39” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2500 |
สถานที่พบ |
กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ผู้พบ |
เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจเมื่อ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) วารสารศิลปากร ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 (กันยายน 2528) : 43-51. |
ประวัติ |
จารึกแผ่นทองคำจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ส่วนที่จัดไว้ในกลุ่มนี้ มี 3 แผ่น จารึกด้วยอักษรขอมอยุธยา ภาษาไทย ข้อความในจารึกบอกชื่อตัว และนามบรรดาศักดิ์ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นชื่อและนามของผู้สร้างแผ่นทองคำถวายไว้กับพระพุทธศาสนา เพื่อบรรจุไว้ในกรุกลางองค์ปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะนั้นเอง |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความในจารึกบอกนามผู้สร้างแผ่นทองคำนี้คือ ศรีจันทรภานุชัยวรรทธโหราธิบดี และนามบรรดาศักดิ์คือ กมรเตงธรรมาภินันทนาม |
ผู้สร้าง |
พระเจ้าศรีจันทรภานุชัยวรรทธโหราธิบดี |
การกำหนดอายุ |
กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดให้เป็นจารึกอักษรขอมอยุธยา อายุพุทธศตวรรษที่ 20 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529) |