จารึกออกศรีไตร

จารึก

จารึกออกศรีไตร

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2566 21:12:00 )

ชื่อจารึก

จารึกออกศรีไตร

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชน. 12

อักษรที่มีในจารึก

ขอมอยุธยา

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 6 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 3 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 3 บรรทัด

วัตถุจารึก

เงิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 1.7 ซม. ยาว 10.1 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชน. 12”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกออกศรีไตร”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 96-98.

ประวัติ

จารึกออกศรีไตร นี้ เป็นจารึกแผ่นเงินขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มาจากที่ใด เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ สำรวจและคัดจำลองอักษร เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 จากลักษณะรูปอักษรในจารึก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นจารึกกลุ่มเดียวกับจารึกที่จารขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 20 การจำลองอักษรจารึกนั้น ได้พยายามรักษารูปแบบของเส้นอักษรไว้อย่างดีที่สุด แต่ก็อาจจะมีส่วนเส้นที่คลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับเดิมได้บ้างไม่มากก็น้อย อย่างแน่นอน

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงบุคคลนามว่า ออกศรีไตร และญาติ ที่ได้ทำบุญด้วยการบรรจุพระทอง พระเงิน พระธาตุ หัวแหวน และดอกไม้ ลงในสถูปเจดีย์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติได้กำหนดให้เป็น จารึกอักษรไทยอยุธยาและขอมอยุธยา อายุพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “จารึกออกศรีไตร,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 96-98.

ภาพประกอบ

ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)