จารึกวัดดอนแก้ว

จารึก

จารึกวัดดอนแก้ว

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 13:16:26 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดดอนแก้ว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึกวัดดอน หรือ วัดดอนแก้ว ลพ./4, จารึกวัดดอนแก้ว (ลพ./4, พช. 25, 358), ลพ. 4

อักษรที่มีในจารึก

มอญโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 17

ภาษา

มอญโบราณ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

ใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 66 ซม. สูง 147 ซม. หนา 19 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ./4”
2) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดดอน หรือ วัดดอนแก้ว ลพ./4”
3) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (พ.ศ. 2533) กำหนดเป็น “จารึกวัดดอนแก้ว” (ลพ./4, พช. 25, 358)
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 กำหนดเป็น “จารึกวัดดอนแก้ว”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดดอนแก้ว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

พิมพ์เผยแพร่

1) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2522), 27-29.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 130.
3) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 20-21.
4) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 173.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ถูกพบในบริเวณวัดดอนแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน กรมศิลปากรได้ตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับจารึก ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2522 และหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 เมื่อ พ.ศ. 2429 ต่อมา มีการพิมพ์หนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชยอีกครั้ง ใน พ.ศ. 2533 โดยทั้งหมดไม่มีการตีพิมพ์คำอ่าน-แปลเนื่องจากจารึกดังกล่าวชำรุดมาก อักษรลบเลือนจนไม่สามารถอ่านจับใจความได้ทั้งหมด ทำได้เพียงสรุปเนื้อหาบางตอนเท่านั้น

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการสร้างเจดีย์และผูกพัทธสีมาซึ่งมีการบรรจุทองคำ จำนวน 13 อัว

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ปรากฏบนศิลาจารึก “มยเจดีย์” (Mayazedi) ของพระเจ้าจันสิตถา (Kyanzittha) (อักษรโรมัน Ky ในภาษาพม่าแทนเสียง /c/ ซึ่งเท่ากับ จ ในภาษาไทย) กษัตริย์พุกาม (พม่า) ซึ่งจารึกไว้เมื่อ พ.ศ. 1628 และ 1630 ดังนั้นจารึกหลักนี้จึงน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 เช่นเดียวกัน โดยรูปอักษรที่ปรากฏบนจารึกหลักนี้ จำปา เยื้องเจริญ ได้แสดงความคิดเห็นว่า มีลักษณะเหมือนอักษรที่ปรากฏบนจารึกอาณาจักรปุนไชย (ลพ./5) จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกัน อนึ่ง อาณาจักรพุกามมีการรับอิทธิพลด้านตัวอักษรไปจากมอญ เมื่อพระเจ้าอนิรุทธ (อโนรธามังฉ่อ) กษัตริย์พุกาม (พม่า) ทรงยกทัพไปตีเมืองสะเทิม (ถะทนหรือสุธรรมวดี) ซึ่งเป็นราชธานีของหัวเมืองมอญฝ่ายใต้สำเร็จ จึงได้มีการกวาดต้อนผู้คน ช่างฝีมือ ตลอดจนภิกษุสงฆ์และคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่มีอยู่ในดินแดนดังกล่าวไปสู่พุกาม ทำให้วัฒนธรรมมอญแพร่หลายในพุกาม รวมไปถึงการใช้ตัวอักษร โดยศาสตราจารย์เรอชินาลด์ เลอ เมย์ (Reginald Le May) กล่าวว่า พม่ารับวัฒนธรรมการเขียนหนังสือไปจากมอญ เมื่อราว พ.ศ. 1606 ซึ่งพระเจ้าจันสิตถานั้น ก็คือกษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าอนิรุทธ (อโนรธามังฉ่อ) นั่นเอง

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) Okell John, A reference grammar of colloquial Burmese (Oxford : Oxford University Press, 1969), 16.
2) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกวัดดอนแก้ว,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 20-21.
3) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “ศิลาจารึกวัดดอน หรือ วัดดอนแก้ว ลพ./4,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2522), 27-29.
4) เทิม มีเต็ม, “จารึกวัดดอนแก้ว,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 : อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ 12-21 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 130.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-27, ไฟล์; LPh_0400_c)