อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 17, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรหริภุญชัย, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายสิ่งของ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างเจดีย์,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2566 17:19:15 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดบ้านหลวย |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ลพ. 6, Vat Ban Hlui, จารึกวัดบ้านหลุย, ศิลาจารึกวัดบ้านหลวย |
อักษรที่มีในจารึก |
มอญโบราณ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 17 |
ภาษา |
มอญโบราณ |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 32 บรรทัด แต่ละด้านมี 16 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
ใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 45.5 ซม. สูง 95 ซม. หนา 15 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 6” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดบ้านหลวย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XXX (1930) : 6-105. |
ประวัติ |
จารึกหลักนี้ถูกพบที่วัดบ้านหลวย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำกวง บริเวณทิศใต้ของวัดพระธาตุหริภุญไชย ศ. โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ (Robert Halliday) และ ศ. ชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น (Charles Otto Blagden) ได้อ่าน-แปลและตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ (BEFEO) ปีที่ 30 ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) ในบทความชื่อ “Les Inscription Môn Du Siam“ ซึ่งศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงแปลและตีพิมพ์ใน วารสารโบราณคดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2516 ต่อมากรมศิลปากรได้ตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับจารึกหลักนี้ลงในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ใน พ.ศ. 2522 เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน และใน พ.ศ. 2529 ตีพิมพ์ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่มที่ 2 จากนั้นมีการพิมพ์หนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ซ้ำอีกครั้งใน พ.ศ. 2533 โดยทั้ง 3 เล่มไม่มีการตีพิมพ์คำอ่าน |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงการบำเพ็ญกุศลในพุทธศาสนา เช่น การอุทิศข้าพระสำหรับบำรุงรักษาวัดและสระน้ำ การถวายสิ่งของต่างๆ เช่นหม้อน้ำ, ฉัตรและเครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งกล่าวถึงผู้สร้างเจดีย์และคูหา |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ศ. โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ และ ศ. ชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น กำหนดอายุของจารึกหลักนี้จากรูปอักษรซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิทั้ง 2 หลัก รวมถึงจารึกวัดมหาวัน ซึ่งทั้งหมดมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 โดยกำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณที่มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ปรากฏบนศิลาจารึก “มยเจดีย์” (Mayazedi) ของพระเจ้าจันสิตถา (Kyanzittha) (อักษรโรมัน Ky ในภาษาพม่าแทนเสียง /c/ ซึ่งเท่ากับ จ ในภาษาไทย) กษัตริย์พุกาม (พม่า) ซึ่งจารึกไว้เมื่อ พ.ศ. 1628 และ 1630 อีกทั้งข้อความในจารึกวัดบ้านหลวยนี้ ยังกล่าวถึง “วัดเชตวัน” ซึ่งสอดคล้องกับจารึกในสมัยพระเจ้าสววาธิสิทธิ ราวพุทธศตวรรษที่ 17 อีกด้วย นอกจากนี้ จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และประเสริฐ ณ นครได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกำหนดอายุจารึกหลักนี้ไว้ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2522 ว่า จารึกดังกล่าวมีข้อความบอกศักราชปรากฏในบรรทัดแรกของด้านที่ 1 ดังนี้ (ศ. โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ และ ศ. ชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น จัดให้เป็นด้านที่ 2 โดยอ่านว่า ล( ู) โกวฺ (สุ-) (หรือ สุ ํ-มฺ ) ..(วฺ) ลฺวิมฺ ลูโกวฺ…) ) ลูเกาว์ สุป 826 ลงิม์ ลุเกาว์ คำว่า “ลงิม์” (อ่าน “เลียะงิม”) แปลว่า “หนึ่งพัน” ซึ่งอยู่หลังตัวเลข 3 ตัว ดังนั้นเมื่ออ่านแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า จะได้ศักราช 1628 สอดคล้องกับหลักฐานด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานทางด้านโบราณคดีซึ่งอายุไม่เก่า ไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 17 และรูปอักษรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับจารึกหลักอื่นๆ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 อนึ่ง อาณาจักรพุกามมีการรับอิทธิพลด้านตัวอักษรไปจากมอญ เมื่อพระเจ้าอนิรุทธ (อโนรธามังฉ่อ) กษัตริย์พุกาม (พม่า) ทรงยกทัพไปตีเมืองสะเทิม (ถะทนหรือสุธรรมวดี) ซึ่งเป็นราชธานีของหัวเมืองมอญฝ่ายใต้สำเร็จ จึงได้มีการกวาดต้อนผู้คน ช่างฝีมือ ตลอดจนภิกษุสงฆ์ และคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่มีอยู่ในดินแดนดังกล่าวไปสู่พุกาม ทำให้วัฒนธรรมมอญแพร่หลายในพุกาม รวมไปถึงการใช้ตัวอักษร โดยศาสตราจารย์เรอชินาลด์ เลอ เมย์ (Reginald Le May) กล่าวว่า พม่ารับวัฒนธรรมการเขียนหนังสือไปจากมอญ เมื่อราว พ.ศ. 1606 ซึ่งพระเจ้าจันสิตถานั้น ก็คือกษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าอนิรุทธ (อโนรธามังฉ่อ) นั่นเอง |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-27, ไฟล์; LPh_0601_c และ LPh_0602_c) |