จารึกวิหารโพธิ์ลังกา

จารึก

จารึกวิหารโพธิ์ลังกา

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2567 13:38:28 )

ชื่อจารึก

จารึกวิหารโพธิ์ลังกา

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึกวิหารโพธิ์ลังกา เลขที่ น.ศ. 2, น.ศ. 2

อักษรที่มีในจารึก

มอญโบราณ

ศักราช

พ.ศ. 1775-1825

ภาษา

มอญโบราณ, พม่าโบราณ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 8 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

ใบเสมา

ขนาดวัตถุ

สูง 76 ซม. กว้าง 37 ซม. หนา 14 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นศ. 2”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 23 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน 2522) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวิหารโพธิ์ลังกา เลขที่ น.ศ. 2”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 กำหนดเป็น “จารึกวิหารโพธิ์ลังกา”

ปีที่พบจารึก

7 มีนาคม พ.ศ. 2514

สถานที่พบ

วิหารโพธิ์ลังกา วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ

ปัจจุบันอยู่ที่

วิหารโพธิ์ลังกา วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช วิหารโพธิ์ลังกา วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 23 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน 2522) : 94-98.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 112-118.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 148-151.

ประวัติ

เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร พบจารึกหลักนี้ที่วิหารโพธิ์ลังกา วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2514 ต่อมา อาจารย์อัญชนา จิตสุทธิญาณ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้นำสำเนาศิลาจารึกหลักนี้มอบให้หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2522 จึงมีการขึ้นทะเบียนประวัติในบัญชีจารึกจังหวัดนครศรีธรรมราช จารึกหลักนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในวารสารศิลปากร ปีที่ 23 ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2522 ต่อมากรมศิลปากรตีพิมพ์ลงในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 ใน พ.ศ. 2529 จากการอ่าน-แปลโดยกองหอสมุดแห่งชาติ พบว่า ภาษาที่ใช้ในจารึกมีทั้งภาษามอญโบราณและพม่าโบราณ โดยมีคำบาลีสันสกฤตปะปน จารึกหลักนี้ไม่มีประวัติความเป็นมาที่ชัดเจนว่าอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมาแต่เดิมหรือไม่ เพราะจารึกอักษรมอญโบราณหลักอื่นๆ ล้วนแต่ถูกพบในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณสมัยหริภุญไชย แต่จารึกหลักนี้กลับพบในภาคใต้

เนื้อหาโดยสังเขป

บรรยายถึงความสง่างามของพญานาค 2 ตัวที่กำลังแสดงความเคารพต่อพระอาทิตย์ และมีการกล่าวถึงภาพบ้านเมืองที่อยู่ในเบื้องซ้าย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

เทิม มีเต็ม และจำปา เยื้องเจริญ ได้กำหนดอายุจารึกหลักนี้จากการศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะรูปอักษร โดยสันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, “ศิลาจารึกวิหารโพธิ์ลังกา เลขที่ น.ศ. 2 ระหว่าง พ.ศ. 1775-1825,” ศิลปากร 23, 5 (พฤศจิกายน 2522) : 94-98.
2) เทิม มีเต็ม และจำปา เยื้องเจริญ, “จารึกวิหารโพธิ์ลังกา,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 : อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ 12-21 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 112-118.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 23 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน 2522)