อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรเจนละ, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรเจนละ-พระเจ้ามเหนทรวรมัน, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย, เรื่อง-การสร้างรูปเคารพ, เรื่อง-การสร้างศิวลึงค์, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรเจนละ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรเจนละ-พระเจ้ามเหนทรวรมัน, บุคคล-พระเจ้าจิตรเสน, บุคคล-พระเจ้ามเหนทรวรมัน,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )
ชื่อจารึก |
จารึกปากน้ำมูล ๑ |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
Les inscriptions de Khăn Thevăda, Les inscriptions de Khăn T’evăda, Khan Thevada Inscriptions, Les inscriptions de Khan T’evada (Pak Mun) (K. 496 & K. 497) |
อักษรที่มีในจารึก |
ปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ ๑๒ |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา |
ลักษณะวัตถุ |
รูปเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง ๓๕ ซม. สูง ๒๕๐ ซม. หนา ๓๖ ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อบ. ๑” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
ฝั่งขวาปากน้ำมูล ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี (ข้อมูลปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ว่า ฝั่งขวาปากน้ำมูล ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม) จังหวัดอุบลราชธานี |
พิมพ์เผยแพร่ |
๑) Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XXII (1922) : 57-60, pl. II. |
ประวัติ |
ในบรรดาจารึกอักษรปัลลวะ ที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย มีจารึกกลุ่มหนึ่งจำนวน ๗ หลัก ซึ่งเป็นของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน มีรูปอักษรเหมือนกัน ข้อความเหมือนกัน ต่างกันเพียงข้อความที่กล่าวถึงสิ่งสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาเท่านั้น กลุ่มจารึกดังกล่าวประกอบด้วย |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความในจารึกกล่าวถึงพระเจ้าจิตรเสน กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทรงได้ชัยชนะเหนือกัมพูประเทศ และได้เฉลิมพระนามว่า “ศรีมเหนทรวรมัน” อีกทั้งโปรดให้สร้างรูปเคารพต่างๆ ในลัทธิไศวนิกายไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ ซึ่งในจารึกปากน้ำมูล ๑ นี้ เป็นการสร้างพระศิวลึงค์ ดังนั้น จากจารึกทั้ง ๗ หลักนี้ จึงเป็นหลักฐานอย่างดีว่า อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำชี และลุ่มแม่น้ำมูลในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ นั้น มีผู้นำของอาณาจักรนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย “จิตรเสน” เป็นพระนามของเจ้าชายผู้ทรงเป็นพระญาติกับพระเจ้าภววรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๑๔๑-๑๑๕๐) กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ ต่อมาเจ้าชายจิตรเสนได้ครองราชสมบัติ ฉลองพระนามเป็น พระเจ้ามเหนทรวรมัน (ราว พ.ศ. ๑๑๕๐-๑๑๕๙) พระเจ้ามเหนทรวรมันทรงสถาปนาจารึกไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตแดนของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น มีพบที่ จังหวัดบุรีรัมย์ คือ กลุ่มจารึกถ้ำเป็ดทอง ที่จังหวัดขอนแก่นพบจารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) และที่ จังหวัดอุบลราชธานี พบจารึกปากน้ำมูล ๑ (อบ. ๑) (K. 496) จารึกปากน้ำมูล ๒ (อบ. ๒) (K. 497) จารึกวัดสุปัฏนาราม ๑ (อบ. ๔) (K. 508) และ จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. ๙) |
ผู้สร้าง |
ศรีมเหนทรวรมัน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุตามรูปแบบของตัวอักษรปัลลวะ ได้อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ นอกจากนี้ เนื้อความยังกล่าวถึงรัชสมัยของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน ซึ่งครองราชย์อยู่ราว พ.ศ. ๑๑๕๐-๑๑๕๙ ดังนั้น จึงอาจกำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ก็ได้เช่นกัน |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๗, จาก : |