จารึกเมืองบึงคอกช้าง 1

จารึก

จารึกเมืองบึงคอกช้าง 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2566 11:34:50 )

ชื่อจารึก

จารึกเมืองบึงคอกช้าง 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกบึงคอกช้าง 1

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

แท่งยาว

ขนาดวัตถุ

กว้าง 30 ซม. สูง 105 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อน. 1”
2) ในหนังสือ จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง กำหนดเป็น “จารึกเมืองบึงคอกช้าง 1”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 กำหนดเป็น “จารึกบึงคอกช้าง 1”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2522

สถานที่พบ

เมืองโบราณบึงคอกช้าง ตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดทุ่งสงบ ตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524), 41-42.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 129-131.

ประวัติ

จารึกหลักนี้พบที่เมืองบึงคอกช้าง ตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี เมื่อราว พ.ศ. 2522 ต่อมาราวต้นปี พ.ศ. 2524 จึงได้มีการเคลื่อนย้ายจากเมืองบึงคอกช้างมาเก็บรักษาไว้ ณ วัดทุ่งสงบ ตำบลไผ่เขียว ลักษณะของจารึกเป็นแท่งยาว มีอักษรจารึกอยู่เพียงด้านเดียวของตอนบนแท่นหิน สำหรับเมืองบึงคอกช้างนั้น เป็นเมืองโบราณยุคแรกรับวัฒนธรรมอินเดีย หรือที่เรียกว่าสมัยทวารดีอีกเมืองหนึ่ง ที่ได้สำรวจพบแล้วหลายเมือง ในจังหวัดอุทัยธานี ลักษณะของเมืองค่อนข้างกลมมีกำแพงดิน (กำแพงเมือง) อยู่ด้านนอกและคูเมืองอยู่ด้านใน โบราณวัตถุพบที่เมืองนี้ได้แก่แท่นหินบด ระฆังหิน และที่สำคัญคือ จารึก

เนื้อหาโดยสังเขป

ในจารึกปรากฏข้อความเพียงว่า “สมัยที่ปรัชญาเป็นเลิศ” เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม นายชะเอม แก้วคล้าย ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า “ปฺรชฺญา” ในจารึกนี้ สามารถนำรูปแบบของอักษรไปเปรียบเทียบได้กับคำว่า “ชฺญา” ที่มีในจารึกมหานาวิกพุทธคุปตะ (Inscription of Mahanavika Buddhagupta) จากสำเนาจารึกที่ 10 plate xxib Indian Palaeography โดย Dr. D. H. Dani นอกจากนี้ ลักษณะการจารึกอักษรนั้น เหมือนกันกับจารึกบนฐานพระพุทธรูปยืนวัดข่อย อำเภอบ้านเซ่า (ปัจจุบันคือ อำเภอบ้านหมี่) จังหวัดลพบุรี (ปัจจุบันอยู่ที่วัดเบญจมบพิตร) คือ มีการหยักอักษรไปทางขวามือก่อนที่จะตวัดโค้งขึ้น ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรปัลลวะ ซึ่งมีอายุราวพุทธกำหนดอายุตามรูปแบบอักษรปัลลวะ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ เป็นของสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-16

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกเมืองบึงคอกช้าง 1,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 129-131.
2) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกเมืองบึงคอกช้าง 1,” ใน จารึกโบราณรุ่นแรกพบที่ลพบุรีและใกล้เคียง (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524), 41-42.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)