จารึกปราสาทเมืองสิงห์

จารึก

จารึกปราสาทเมืองสิงห์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2567 11:56:33 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทเมืองสิงห์

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 18

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

ฐานประติมากรรมรูปสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

รอบฐาน กว้าง 82 ซม. ยาว 83.5 ซม. กลางฐานเจาะเป็นช่องสำหรับสวมเดือยประติมากรรม กว้าง 63 ซม. ยาว 63 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กจ. 4”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกปราสาทเมืองสิงห์”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2521

สถานที่พบ

บริเวณปราสาทเมืองสิงห์ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้พบ

นายระพีศักดิ์ ชัชวาลย์

ปัจจุบันอยู่ที่

ปราสาทเมืองสิงห์ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 153-155.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้ นายระพีศักดิ์ ชัชวาลย์ หัวหน้าโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์ ค้นพบขณะทำการขุดแต่งบริเวณปรางค์ประธานปราสาทเมืองสิงห์ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2521 อักษรจารึกปรากฏอยู่ที่ขอบแท่นฐานประติมากรรมลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ตรงกลางเจาะเป็นช่องสำหรับเป็นที่สวมเดือยของรูปประติมากรรมนั้น อักษรจารึกอยู่ทางด้านหลังของภาพประติมากรรมหันหัวอักษรออกจากส่วนกลางของแท่นฐานหรือรูปประติมานั้น ข้อความในจารึกนี้อาจจะเป็นนามของรูปประติมากรรมบุคคลซึ่งน่าจะเป็นรูปเหมือนของเจ้าของปราสาท หรือผู้สร้างปราสาทเมืองสิงห์แห่งนี้ก็ได้ แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันรูปดังกล่าวได้พลัดหายไปจากฐานแล้ว

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวนาม “พระยาไชยกร”

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

หอสมุดแห่งชาติได้กำหนดไว้ว่าจารึกหลักนี้เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “จารึกปราสาทเมืองสิงห์,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 153-155.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 22 ธันวาคม 2565