จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 9

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 9

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2566 08:02:09 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 9

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

บร. 19, บร.10, K.384, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 145/2532

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 18

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 101 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 21 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 32 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 25 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 23 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินชนวน สีเทา

ลักษณะวัตถุ

หลักสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 27 ซม. สูง 60 ซม. หนา 12 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “บร. 19”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 9”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2515

สถานที่พบ

ปราสาทหินพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอนางรอง) จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 30/11/2563) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 30/11/2563) Phimai National Museum, Nai Mueang Locality, Phimai District, Nakhon Ratchasima Province

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 26 ฉบับที่ 4 (กันยายน 2525) : 26-42.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 156-174.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ เจ้าหน้าที่ในโครงการบูรณะโบราณสถานปราสาทหินพนมรุ้งได้พบเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2515 ขณะทำการขุดแต่งในบริเวณบันไดประตูทางเข้าปรางค์ประธานด้านทิศเหนือของปราสาทพนมรุ้ง ต่อมาได้มีการอ่าน-แปลและพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากร ปีที่ 26 ฉบับที่ 4 กันยายน 2525 ใช้ชื่อเรื่องว่า ศิลาจารึกภาษาสันสกฤต ปราสาทหินพนมรุ้ง นอกจากนั้น จารึกหลักนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง ศิลาจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2521 รายละเอียดอื่นๆ ดูเพิ่มเติมในประวัติจารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 7 เลขทะเบียน บร. 1

เนื้อหาโดยสังเขป

ด้านที่ 1 กล่าวสรรเสริญพระครูนเรนทราทิตย์ ด้านที่ 2 กล่าวสรรเสริญหิรัณยะ ผู้สร้างและประพันธ์กาพย์ในศิลาจารึกหลักนี้ ด้านที่ 3 และด้านที่ 4 กล่าวสรรเสริญพระศิวะ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

หอสมุดแห่งชาติได้กำหนดไว้ว่าจารึกหลักนี้เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ อายุพุทธศตวรรษที่ 18

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) อำไพ คำโท, “จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 9,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 156-174.
2) อำไพ คำโท. “ศิลาจารึกภาษาสันสกฤต ปราสาทหินพนมรุ้ง,” ศิลปากร 26, 4 (กันยายน 2525) : 26-42.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-10, ไฟล์; BR_012f1, BR_012f3 และ BR_012f4)
2) ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)