จารึกโคลงโลกนิติ แผ่นที่ 11 (บทที่ 71-77)

จารึก

จารึกโคลงโลกนิติ แผ่นที่ 11 (บทที่ 71-77)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2553 14:20:08 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2566 20:12:11 )

ชื่อจารึก

จารึกโคลงโลกนิติ แผ่นที่ 11 (บทที่ 71-77)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด)

วัตถุจารึก

หิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ขนาดวัตถุ

กว้างด้านละ 36 ซม.

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ผนังด้านนอกศาลาทิศพระมณฑป วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 649-650.

ประวัติ

จารึกโคลงโลกนิติ เป็นพระนิพนธ์ในกรมสมเด็จพระเดชาดิศร เดิมติดอยู่ที่ผนังรอบศาลา ทิศพระมณฑปทั้ง 4 ทิศ แต่ละทิศ ประกอบด้วยโคลงจำนวน 105 บท รวมทั้งสิ้น 420 บท แต่ศาลาทิศตะวันออกถูกรื้อลงในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อโปรดให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์หนึ่ง ในปัจจุบันจึงเหลือเพียง 3 ทิศ โคลงบทแรกเริ่มต้นที่ศาลาด้านทิศตะวันตก ตั้งแต่บทที่ 1-105 ต่อด้วยศาลาด้านทิศใต้ ตั้งแต่บทที่ 106-211 และศาลาด้านทิศตะวันออก ซึ่งถูกรื้อไป มีจารึกตั้งแต่บทที่ 212-316 ส่วนด้านสุดท้ายคือ ศาลาด้านทิศเหนือ เริ่มตั้งแต่บทที่ 317-420 จารึกแต่ละแผ่น อยู่ภายใต้กรอบปูนปั้นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลวดลายดอกพุดตานประดับอยู่โดยรอบ สำหรับจารึกที่สูญหายไปเพราะการรื้อศาลาทิศตะวันออกนั้น ดร. นิยะดา เหล่าสุนทร ได้คัดลอกจากต้นฉบับตัวเขียนของโคลงโลกนิตเลขที่ 46 และ 71 ซึ่งมีประวัติในบานแผนกของเลขที่ 46 ว่า “จุลศักราช 1196 ปีมะเมีย นักษัตร ฉศก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนเดชอดิสร ทรงชำระโคลงสุภาษิตที่ซ้ำผิดวิปลาสให้ถูกต้องตามบาลีและโบราณคดีอันสมควร ข้าพระพุทธิเจ้า ขุนสุวรรณ์อักษรจาฤก พระศรีภูริปรีชาธิราชาเสนาบดีศรีสาลักษณ์สอบทานถูกถ้วนตามสำเนา 3 ครั้ง ขอพระราชทูลเกล้าฯ ถวายเล่ม 1 ขอเดชะ”

เนื้อหาโดยสังเขป

จารึกข้อความในโคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ในกรมสมเด็จพระเดชาดิศร ตั้งแต่บทที่ 71-77

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า บนผนังศิลาทิศพระมณฑป ติดจารึกโคลงโลกนิติทั้ง 4 หลัง ดังปรากฏในจดหมายเหตุเรื่อง การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2552) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2557), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก :
1) “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 57-73.
2) “โคลงโลกนิติ,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 635-704.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกได้รับความอนุเคราะห์จาก คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการอนุรักษ์และเผยแพร่จารึกวัดโพธิ์, 2552-2554 (ไฟล์; 11_1)