จารึกสังข์สัมฤทธิ์

จารึก

จารึกสังข์สัมฤทธิ์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2566 19:38:26 )

ชื่อจารึก

จารึกสังข์สัมฤทธิ์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 110 จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์, ปจ. 22, จารึกหลักที่ 110, K. 1054 , เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 80/2511 (เลขเดิม), 25/2513/2524 (เลขปัจจุบัน)

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 18

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

สัมฤทธิ์

ลักษณะวัตถุ

รูปสังข์

ขนาดวัตถุ

กว้าง 11 ซม. สูง 9 ซม. ยาว 26 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 22”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 110 จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกบนสังข์สัมฤทธิ์”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2509

สถานที่พบ

โบราณสถานหมายเลข 11 บริเวณเมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ์ ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอศรีมหาโพธิ์) จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 5 จังหวัดฉะเชิงเทรา

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี (สำรวจเมื่อ 24 กรกฎาคม 2554)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 10 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2509) : 70-71.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 142-143.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 137-139.

ประวัติ

จารึกนี้ มีอักษรจารึกปรากฏอยู่บนรูปสังข์สัมฤทธิ์ บริเวณด้านนอกตอนบนของปากสังข์ เป็นอักษรบรรทัดเดียว จารึกตามความยาวของปากสังข์นั้น ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 ใช้ชื่อจารึกว่า หลักที่ 110 จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์ แต่การจัดพิมพ์จารึกในประเทศไทยครั้งนี้ ได้เปลี่ยนชื่อจารึกใหม่ ใช้ชื่อตามลักษณะวัตถุที่จารึกว่า จารึกสังข์สัมฤทธิ์

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นการบันทึกว่าสังข์อันนี้เป็นของถวายจากพระวรโลง (?)

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรขอมโบราณ อายุพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพิจารณาจากรูปอักษรที่ค่อนข้างเหลี่ยม อีกทั้งเนื้อความกล่าวถึงไทยธรรมซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับจารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์ ทั้ง 4 คือ จารึกขันทรงกลมสัมฤทธิ์ จารึกขันทรงวงรีสัมฤทธิ์ จารึกกรอบคันฉ่องสัมฤทธิ์ และจารึกเชิงเทียนสัมฤทธิ์ ที่เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ อายุพุทธศตวรรษที่ 18 ดังนั้นจารึกสังข์สัมฤทธิ์หลักนี้จึงน่าจะเป็นจารึกอักษรขอมโบราณที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 เช่นเดียวกัน

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 110 จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 142-143.
2) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านจารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์อักษรขอมโบราณและภาษาขอม : ได้มาจากโบราณสถานหมายเลข 11 เมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ์ ตำบลโคกปีบ,” ศิลปากร 10, 4 (กันยายน 2509) : 70-71.
3) ประสาร บุญประคอง และฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกสังข์สัมฤทธิ์,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 137-139.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี